๔๙๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๔๙๓
                   อนึ่ง  ในบทเหล่านี้  พึงทราบว่า   บทว่า  กาเย   เป็นเอกวจนะ
เพราะสรีระมีหนึ่ง.   บทว่า  จิตฺเต   เป็นเอกวจนะท่านทำโดยถือเอาชาติ
เพราะไม่มีความต่างแห่งสภาวะของจิต.      อนึ่ง   ภิกษุพิจารณาเห็นโดย
ประการที่พึงเห็นเวทนาเป็นต้น   พึงทราบว่า  เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลาย,     เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต,     เป็นผู้พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลาย.   พึงพิจารณาเห็นเวทนาอย่างไร  ?   พึงพิจารณา
เห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์,  พึงพิจารณาเห็นทุกขเวทนาโดยความ
เป็นดังลูกศร,       พึงพิจารณาเห็นอทุกขมสุขโดยความเป็นของไม่เที่ยง.
ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
             โย  สุขํ  ทุกฺขโต   อทฺท  ทุกฺขมทิทกฺขิ    สลฺลโต
             อทุกฺขมสุขํ  สนฺตํ         อทฺทกฺขิ  นํ  อนิจฺจโต.
             ส  เว  สมฺมทฺทโส  ภิกฺขุ   ปริชานาติ  เวทนา.
                       ภิกษุใดได้เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์  ได้เห็น
             ทุกข์โดยความเป็นดังลูกศร   ได้เห็นอทุกขมสุขอัน
             สงบระงับแล้วนั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง. ภิกษุ
             นั้นแลเป็นผู้เห็นชอบ  ย่อมรู้รอบเวทนาทั้งหลาย.
๑. สํ. สฬา. ๑๘/๓๖๘.
           อนึ่ง   พึงพิจารณาเห็นเวทนาทั้งหมดโดยความเป็นทุกข์    ดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  เรากล่าวว่า  สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ได้เสวยแล้ว.
สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นไปในทุกข์.
           อนึ่ง    พึงพิจารณาเห็นโดยความเป็นสุขบ้าง    ทุกข์บ้าง.    ดังที่
ท่านกล่าวว่า       สุขเวทนาเป็นสุขเพราะตั้งอยู่       เป็นทุกข์เพราะ
ปรวนแปร.      ทุกขเวทนาเป็นสุขเพราะตั้งอยู่       เป็นสุขเพราะ
ปรวนแปร,  อทุกขมสุขเวทนาเป็นสุขเพราะรู้  เป็นทุกข์เพราะไม่รู้.
แต่ก็ควรพิจารณาด้วยอำนาจการพิจารณาเห็นสัตว์มีความไม่เที่ยงเป็น
ต้น.
           พึงทราบวินิจฉัยในจิตและธรรมดังต่อไปนี้   พึงพิจารณาเห็นจิต
ก่อน  ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นสัตว์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น  อัน
มีประเภทจิตที่ต่าง ๆ กัน โดยมี  อารัมมณะ  อธิปติ  สหชาตะ  ภูมิ  กรรม
วิบาก  และ   กิริยา   เป็นต้นและประเภทแห่งจิต ๑๖ อย่าง มี สราคจิต
เป็นต้น.  พึงพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย  ด้วยสามารถแห่งการพิจารณา
เห็นสัตว์   มีความไม่เที่ยงเป็นต้นแห่งสุญญตาธรรม   อันมีลักษณะของ
ตนและสามัญลักษณะ     ทั้งมีความสงบและไม่สงบเป็นต้น.
         อนึ่ง   ในบทนี้  อภิชฌาโทมนัสนั้นที่ภิกษุละได้ในโลก   อัน
ได้แก่กายจึงเป็นอันละได้แม้ในโลกมีเวทนาเป็นต้นด้วยโดยแท้,   แต่ถึง
๑. สํ. สฬา. ๑๘/๓๙๑. ๒. ม. มู. ๑๒/๕๑๑.