๔๙๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๔๙๕
กระนั้นท่านก็กล่าวไว้ในที่ทั้งปวง  ด้วยสามารถบุคคลต่างกัน   และด้วย
สามารถการเจริญสติปัฏฐานอันมีในขณะต่างกัน.   อีกอย่างหนึ่ง   ครั้น
ละได้ในส่วนหนึ่งแล้ว,    แม้ในส่วนที่เหลือก็เป็นอันละได้ด้วย.    ด้วย
เหตุนั้นแล   พึงทราบว่าท่านกล่าวอย่างนี้   เพื่อแสดงการละอภิชฌาของ
ภิกษุนั้น.
          สติปัฏฐาน  ๔   เหล่านี้     ย่อมได้ในจิตต่าง  ๆ    ในส่วนเบื้องต้น
ด้วยประการฉะนี้.   ภิกษุย่อมกำหนดกายด้วยจิตอื่น  กำหนดเวทนาด้วย
จิตอื่น   กำหนดจิตด้วยจิตอื่น  กำหนดธรรมทั้งหลายด้วยจิตอื่น.   แต่
ในขณะโลกุตรมรรค    สติปัฏฐานย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น.
           สติสัมปยุตด้วยวิปัสสนา      ของบุคคลผู้มากำหนดกายตั้งแต่ต้น
ชื่อว่า  กายานุปัสสนา.   บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น  ชื่อว่า   กายานุ-
ปัสสี.    สติสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของบุคคลผู้ขวนขวาย
วิปัสสนาแล้วบรรลุอริยมรรค  ชื่อว่า กายานุปัสสนา,  บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยสตินั้น   ชื่อว่า    กายานุปัสสี.   สติสัมปยุตด้วยวิปัสสนาของบุคคล
ผู้มากำหนดเวทนา   กำหนดจิต    กำหนดธรรมทั้งหลาย   ชื่อว่า   ธัม-
มานุปัสสนา,   บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินั้น    ชื่อว่า   ธัมมานุปัสสี.
สติสัมปยุตด้วยมรรค   ในขณะแห่งมรรคของบุคคลผู้ขวนขวายวิปัสสนา
แล้วบรรลุอริยมรรค   ชื่อว่า   ธัมมานุปัสสนา,   บุคคลผู้ประกอบด้วย
สตินั้น  ชื่อว่า  ธัมมานุปัสสี.
           การแสดงอย่างนี้    ย่อมตั้งอยู่ในบุคคล.   แต่สติกำหนดกาย   ละ
ความเห็นผิดในกายว่างาม   ย่อมสำเร็จด้วยมรรค   เพราะเหตุนั้น   จึง
ชื่อว่า   กายานุปัสสนา.   สติกำหนดเวทนา   ละความเห็นผิดในเวทนา
ว่าเป็นสุข   ย่อมสำเร็จด้วยมรรค   เพราะเหตุนั้น   จึงชื่อว่า   เวทนานุ-
ปัสสนา.    สติกำหนดจิต     ละความเห็นผิดในจิตว่า     เป็นของเที่ยง
ย่อมสำเร็จด้วยมรรค   เพราะเหตุนั้น   จึงชื่อว่า  จิตตานุปัสสนา.   สติ
กำหนดธรรม    ละความเห็นผิดในธรรมทั้งหลายว่า   เป็นตัวตน   ย่อม
สำเร็จด้วยมรรค    เพราะเหตุนั้น    จึงชื่อว่า    ธัมมานุปัสสนา.   สติ
สัมปยุตด้วยมรรคอย่างเดียว     ย่อมได้ชื่อ  ๔  อย่าง   โดยความที่ยังกิจ
๔  อย่างให้สำเร็จด้วยประการฉะนี้.  ด้วยเหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า  สติปัฏ-
ฐาน ๔   ย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น   ในขณะแห่งโลกุตรมรรค.
           พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาสมาธินิทเทสดังต่อไปนี้  บทว่า วิวิจฺเจว
กาเมหิ - สงัดจากกาม   ได้แก่  สงัด  เว้น  หลีกจากกามทั้งหลาย.    พึง
ทราบว่า   เอว  ศัพท์   ในบทนี้   มีความว่า   แน่นอน.   เพราะเอวศัพท์
ความว่า  แน่นอน  ฉะนั้น     พระสารีบุตรแสดงถึงความที่กามแม้ไม่มี
อยู่ในขณะเข้าถึงปฐมฌาน     เป็นปฏิปักษ์ของปฐมฌานนั้น    และการ
บรรลุปฐมฌานนั้น   ด้วยการสละกามนั่นเอง.    อย่างไร ?    เพราะเมื่อ
ทำความแน่นอนอย่างนี้ว่า   วิวิจฺเจว  กาเมหิ ปฐมฌานนี้   ย่อมปรากฏ,
กามทั้งหลายเป็นปฏิปักษ์ของฌานนี้แน่นอน,  เมื่อยังมีกามอยู่ฌานนี้ย่อม