๔๙๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๔๙๗
เป็นไปไม่ได้,   เหมือนเมื่อความมืดยังมีอยู่และประทีปก็ยังส่องไปไม่ได้.
การบรรลุฌานนั้นด้วยการละกามเหล่านั้น   เหมือนการถึงฝั่งนอกด้วย
การสละฝั่งใน,   ฉะนั้น   จึงทำความแน่นอน.
            ในบทนั้นพึงมีคำถามว่า    เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวการบรรลุนี้
ไว้ในบทก่อน,  ไม่กล่าวไว้ในบทหลังเล่า,     ภิกษุแม้ไม่สงัดจากอกุศล-
ธรรม   ก็ยังจะเข้าฌานได้หรือ ?  ข้อนั้นไม่ควรเห็นอย่างนั้น.    เพราะ
ท่านกล่าวการบรรลุนั้นไว้แล้วในบทก่อน    เพราะการสลัดออกจากกาม
นั้น.    อนึ่ง    ฌานนี้เป็นการสลัดออกไปแห่งกามทั้งหลาย   เพราะก้าว
ล่วงกามธาตุ  และเพราะเป็นปฏิปักษ์ของกามราคะ.    ดังที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า   กามานเมตํ  นิสฺสรณํ ยทิทํ เนกฺขมฺมํ - เนกขัมมะ
เป็นการสลัดออกจากกามทั้งหลาย.      แม้ในบทหลังก็พึงกล่าวเหมือน
อย่างที่ท่านนำ    เอว    อักษรมากล่าวไว้ในบทนี้ว่า    อิเธว    ภิกฺขเว
สมโณ,  อิธ   ทุติโย  สมโณ- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  สมณะมีใน
ศาสนานี้เท่านั้น,  สมณะที่สองก็มีในศาสนานี้.
            เพราะไม่สงัดจกกอกุศลธรรมอันได้แก่นิวรณ์   แม้อื่นจากนี้ก็ไม่
อาจเข้าฌานได้,   ฉะนั้น   พึงเห็นความแม้ในสองบทอย่างนี้ว่า  วิวิจฺเจว
กาเมหิ  วิวิจฺเจว  อกุสเลหิ - สงัดจากกามนั่นแล  สงัดจากอกุศลนั่นแล
ดังนี้.    ตทังควิเวก   วิกขัมภนวิเวก    สมุจเฉทวิเวก    ปฏิปัสสัทธิวิเวก
นิสสรณวิเวก   และจิตตวิเวก    กายวิเวก    อุปธิวิเวก    ย่อมสงเคราะห์
๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๕๐. ๒. ม. มู. ๑๒/๑๕๔.
ด้วยคำทั่วไปนี้ว่า     วิวิจฺจ     ก็จริง     แม้ถึงอย่างนั้นก็พึงเห็นกายวิเวก
จิตตวิเวก     วิกขัมภนวิเวก     ในส่วนเบื้องต้นด้วย.    พึงเห็นกายวิเวก
จิตตวิเวก   สมุจเฉทวิเวก  ปฏิปัสสัทธิวิเวก  และนิสสรณวิเวก   ในขณะ
แห่งโลกตรมรรคด้วย.
         ก็ด้วยบทว่า   กาเมหิ  นี้  ท่านกล่าวถึงวัตถุกามไว้ในมหานิทเทส
โดยนัยมีอาทิว่า     กตเม  วตฺถุกามา  มนาปิกา   รูปา - วัตถุกามมีรูปที่น่า
พอใจเป็นไฉน    และท่านกล่าวถึงกิเลสกามไว้ในวิภังค์นั้น    อย่างนี้ว่า
ฉนฺโท   กาโม   ราโค   กาโม   ฉนฺทราโค   กาโม,  สงฺกปฺโป   กาโม
ราโค    กาโม,  สงฺกปฺปราโค   กาโม - ฉันทะเป็นกาม   ราคะเป็นกาม
ฉันทราคะเป็นกาม     สังกัปปะเป็นกาม    ราคะเป็นกาม    สังกัปปราคะ
เป็นกาม    พึงเห็นว่าท่านสงเคราะห์กามเหล่านั้นไว้ทั้งหมด.     เมื่อเป็น
อย่างนี้   บทว่า   วิวิจฺเจว   กาเมหิ   ความว่า    สงัดจากวัตถุกามนั่นแล
สมควร.   ด้วยบทนั้น   เป็นอันท่านกล่าวถึงกายวิเวก.
         บทว่า  วิวจฺจ  อกุสเลหิ  ธมฺเมหิ -  สงัดจากอกุศลธรรม   ความ
ว่า   สงัดจากกิเลสกามหรืออกุศลทั้งหมด  ดังนี้   สมควร.   ด้วยบทนั้น
เป็นอันท่านกล่าวถึงจิตตวิเวก.   อนึ่ง  ในสองบทนี้    ด้วยบทต้นเป็นอัน
เจริญการสละกามสุข   เพราะคำว่า    สงัดจากวัตถุกาม,   ด้วยบทที่สอง
เป็นอันเจริญการกำหนดเนกขัมมสุข  เพราะคำว่า  สงัดจากกิเลสกาม.
๑-๒. ขุ. มหา. ๒๙/๒.