๔๙๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๔๙๙
อนึ่ง   เพราะคำว่า  สงัดจากวัตถุกามและกิเลสกาม    พึงทราบว่า   ด้วย
บทต้น   เป็นอันเจริญการละวัตถุอันเศร้าหมอง,   ด้วยบทที่สอง   เป็นอัน
เจริญละความเศร้าหมอง.    ด้วยบทที่หนึ่ง    เป็นอันเจริญการสละเหตุ
แห่งความโลเล,   ด้วยบทที่สอง  เป็นอันเจริญการสละเหตุแห่งความเป็น
พาล,   และด้วยบทที่หนึ่ง    เป็นอันเจริญความบริสุทธิ์ด้วยความเพียร,
ด้วยบทที่สอง   เป็นอันเจริญความกล่อมเกลาอัธยาศัย.   ในบรรดากาม
ทั้งหลายที่ท่านกล่าวไว้ในบทว่า  กาเมหิ   นี้   มีนัยเดียวกันในฝ่ายวัตถุ
กาม.
          พึงทราบวินิจฉัยในฝ่ายกิเลสกามดังต่อไปนี้    กามฉันทะมีหลาย
ประเภทด้วยบทมีอาทิอย่างนี้ว่า   ฉันทะ   และ   ราคะ   ท่านประสงค์
เอาว่า   กาม.   กามนั้นแม้นับเนื่องในอกุศล   ท่านก็กล่าวไว้ต่างหากใน
วิภังค์   โดยนัยมีอาทิว่า   กามเป็นไฉน ?   ฉันทะเป็นกาม    เพราะ
เป็นปฏิปักษ์ขององค์ฌานเบื้องบน  หรือท่านกล่าวไว้ในบทก่อน  เพราะ
เป็นกิเลสกาม.   ท่านกล่าวไว้ในบทที่สอง   เพราะนับเนื่องในอกุศล.
          อนึ่ง    ท่านไม่กล่าวว่า   กามโต -  จากกาม    เพราะกามนั้นมี
หลายประเภท   จึงกล่าวว่า   กาเมหิ - จากกามทั้งหลาย.    เมื่อธรรมแม้
เหล่าอื่นเป็นอกุศลยังมีอยู่    ท่านกล่าวนิวรณ์ทั้งหลายไว้ในวิภังค์  โดย
นัยมีอาทิว่า  อกุศลธรรมเป็นไฉน ?  กามฉันทะเป็นอกุศลธรรม
๑. อภิ. วิ. ๓๕/๖๕๑ ๒. อภิ. วิ. ๓๕/๖๕.
เพราะความเป็นข้าศึกและเป็นปฏิปักษ์ต่อองค์ฌานเบื้องบน.       จริงอยู่
นิวรณ์เป็นข้าศึกต่อองค์ฌาน,   องค์ฌานเป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์เหล่านั้น
ท่านอธิบายว่า   กำจัด   ทำให้พินาศ.   ท่านกล่าวไว้ในปิฎกว่า   สมาธิ
เป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ,  ปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท,   วิตก
เห็นปฏิปักษ์ต่อถีนมิทธะ,    สุขเป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจกุกกุจจะ,
วิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา  ดังนี้.
          ในบทนี้  ด้วยบทว่า  วิวิจฺเจว  กาเมหิ  เป็นอันท่านกล่าวถึง
ความสงัดด้วยการข่มกามฉันทะ,  ด้วยบทว่า   วิวิจฺจ  อกุสเลหิ  ธมฺเมหิ
นี้    เป็นอันท่านกล่าวถึงการข่มนิวรณ์ทั้ง ๕.    ก็ด้วยการถือเอาแล้วไม่
ถือเอาอีก    เป็นอันท่านกล่าวถึงความสงัด   ด้วยการข่มกามฉันทะด้วย
ฌานที่ ๑,   เป็นอันท่านกล่าวถึงความสงัด    ด้วยการข่มนิวรณ์ที่เหลือ
ด้วยฌานที่  ๒.
           อนึ่ง  ท่านกล่าวถึงความสงัด   ด้วยการข่มโลภะอันเป็นที่ตั้งของ
กามคุณ  ๕  ในอกุศลมูล  ๓   ด้วยฌานที่  ๑,    ท่านกล่าวถึงความสงัด
ด้วยการข่มโทสะ  โมหะ  อันเป็นที่ตั้งของประเภทแห่งอาฆาตวัตถุเป็นต้น
ด้วยฌานที่  ๒.     หรือในธรรมทั้งหลายมีโอฆะเป็นต้น    ท่านกล่าวถึง
ความสงัดด้วยการข่มกาโมฆะ    กามโยคะ    กามาสวะ       กามุปาทาน
อภิชฌากายคันถะ   และกามราคสังโยชน์ด้วยฌานที่หนึ่ง,   ท่านกล่าวถึง
ความสงัด    ด้วยการละโอฆะ โยคะ  อาสวะ  อุปาทาน  คันถะ  และ