๕๐๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๐๓
ได้แก่    หมวดธรรมสัมปยุตด้วยฌาน   สงัดจากวิเวก.     เพราะฉะนั้น
ชื่อว่า   วิเวกชํ   เพราะอรรถว่า   เกิดจากวิเวกหรือเกิดในวิเวกนั้น.
             ในบทว่า   ปีติสุขํ   นี้  ชื่อว่า   ปีติ เพราะอรรถว่า  อิ่มใจ,
ปีตินั้นมีลักษณะอิ่มเอิบ.  ปีตินั้นมี ๕  อย่าง  คือ
             ขุททกาปีติ - ปีติอย่างน้อย  ๑.
             ขณิกาปีติ - ปีติชั่วขณะ ๑.
             โอกกันติกาปีติ - ปีติเป็นพัก ๆ ๑.
             อุพเพงคาปีติ - ปีติอย่างโลดโผน ๑.
             ผรณาปีติ -  ปีติซาบซ่าน  ๑.
             ในปีติเหล่านั้น  บทว่า  ขุททกาปีติ  ได้แก่  เมื่อเกิดขึ้นสามารถ
ทำเพียงให้ขนชันในร่างกายเท่านั้น.   บทว่า   ขณิกาปีติ   ได้แก่   เมื่อ
เกิดขึ้นเช่นกับสายฟ้าแลบเป็นพัก ๆ.   บทว่า  โอกกันติกาปีติ    ได้แก่
เมื่อเกิดขึ้นทำร่างกายให้ซู่ซ่าแล้วหายไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง.    บทว่า
อุพเพงคาปีติ    ได้แก่   ปีติมีกำลังทำให้กายลอยขึ้นไปถึงกับโลดขึ้นไป
บนอากาศชั่วระยะหนึ่ง.    บทว่า    ผรณาปีติ    ได้แก่    ปีติมีกำลังยิ่ง.
จริงอยู่  เมื่อปีตินั้นเกิด   สรีระทั้งสิ้นสั่นสะเทือนดุจปัสสาวะเต็มกระเพาะ
และหลืบภูเขาที่ยื่นออกไปทางห้วงน้ำใหญ่.    ปีติ ๕ อย่างนั้น    ถือเอา
ซึ่ง   คพฺภํ -  ท้องถึงการแก่รอบแล้ว   ย่อมยังปัสสัทธิ  ๒ อย่าง  คือ  กาย
ปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิให้บริบูรณ์.   ปีตินั้นถือ  เอาซึ่งท้องแห่งปัสสัทธิ
ถึงการแก่รอบแล้ว  ย่อมยังสุขแม้  ๒ อย่าง  คือ  กายิกสุขและเจตสิกสุข
ให้บริบูรณ์.  สุขนั้นถือเอาท้องคือครรภ์  ถึงการแก่รอบแล้ว  ย่อม
ยังสมาธิ  ๓  อย่าง  คือ  ขณิกสมาธิ  อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ
ให้บริบูรณ์.  ให้ปีติเหล่านั้น  ปีติที่ท่านประสงค์เอาในอรรถนี้  ได้แก่
ผรณาปีติซึ่งเป็นเหตุของอัปปนาสมาธิเจริญงอกงามอยู่  ถึงความประกอบ
พร้อมแห่งสมาธิ.
        อนึ่ง  บทต่อไป  ชื่อว่า  สุขํ  เพราะอรรถว่า  ให้ถึงสุข,  อธิบาย
ว่า  ปีติเกิดแก่ผู้ใด,  ย่อมทำผู้นั้นให้ถึงสุข.  อีกอย่างหนึ่ง ความสบาย
ชื่อว่า  สุขํ,  ธรรมชาติใด  ย่อมเคี้ยวกินดีและการทำลายความเบียด
เป็นทางกายและจิต  ชื่อว่า  สุขํ, บทนี้เป็นชื่อของ  โสมนัสสเวทนา.
ความสุขนั้นมีลักษณะเป็นความสำราญ.  แม้เมื่อปีติและสุขยังไม่พราก
ไปในที่ไหน ๆ ความยินดีในการได้อารมณ์ที่น่าปรารถนาเป็น  ปีติ,
การเสวยรสที่ได้แล้วเป็น  สุ.
        ปีติในที่ใด  ความสุขย่อมมีในที่นั้น.  ความสุขมีในที่ใด  ปีติ
โดยความแน่นอนย่อมไม่มีในที่นั้น,  ปีติสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์,
สุขสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์. ปีติเหมือนในการได้เห็นได้ฟังว่ามีน้ำ
อยู่ชายป่าของผู้ที่เหน็ดเหนื่อยในทางกันดาร,  สุขเหมือนในการเข้าไป
อาศัยในเงาป่าและการดื่มน้ำ.  พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงบทนี้  เพราะ