๕๐๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๐๕
ความปรากฏในสมัยนั้น ๆ.   ปีตินี้และสุขนี้มีอยู่แก่ฌานนั้น   หรือมีอยู่
ในฌานนั้น  เพราะเหตุนั้น  ท่านจึงกล่าวฌานนี้ว่า  ปีติสุขํ  ดังนี้.
             อีกอย่างหนึ่ง     ปีติและสุข   ชื่อว่า  ปีติสุขํ   เหมือนธรรมและ
วินัยเป็นต้น,   ปีติสุขเกิดแต่วิเวก  ย่อมมีแก่ฌานนั้น   หรือมีในฌานนั้น
เพราะเหตุนั้น  ปีติสุขจึงเกิดแต่วิเวกด้วยประการฉะนี้. แม้ปีติสุขในญาณ
นี้ก็เกิดแต่วิเวกเท่านั้น  เช่นเดียวกับฌาน.   อนึ่ง   ปีติสุขมีแก่ฌานนั้น.
เพราะฉะนั้น การทำเป็นอโลปสมาส -  สมาสที่ไม่ลบวิภัตติ  แล้วกล่าวว่า
วิเวกชํ   ปีติสุขํ - ปีติสุขเกิดแต่วิเวก  ดังนี้  โดยบทเดียวเท่านั้นสมควร.
             บทว่า    ปฐมํ    ชื่อว่า    ปฐม    เพราะตามลำดับของการนับ,
ชื่อว่า   ปฐม   เพราะอรรถว่า   เกิดก่อนบ้าง.
             บทว่า   ฌานํ   ฌานมี  ๒  อย่าง  คือ   อารัมมณูปนิชฌาน-
เพ่งอารมณ์  และ  ลักขณูปนิชฌาน - เพ่งลักษณะ  ในฌาน ๒ อย่าง
นั้น   สมาบัติ ๘   เข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น   ชื่อว่า   อารัม-
มณูปนิชฌาน.  วิปัสสนามรรคและผล  ชื่อว่า   ลักขณูปนิชฌาน.
             ในวิปัสสนามรรคและผลเหล่านั้น   วิปัสสนา  ชื่อว่า  ลักขณู-
ปนิชฌาน   เพราะเข้าไปเพ่ง  ซึ่งลักษณะมีอนิจลักษณะเป็นต้น,   มรรค
ชื่อว่า    ลักขณูปนิชฌาน    เพราะกิจทำด้วยวิปัสสนาสำเร็จด้วยมรรค,
ส่วนผล   ชื่อว่า   ลักขณูปนิชฌาน   เพราะอรรถว่า   เข้าไปเพ่งนิโรธสัจ
อันเป็นลักษณะที่จริงแท้.   ในฌานทั้งสองนั้น   ในส่วนเบื้องต้นนี้ท่าน
ประสงค์เอา     อารัมมณูปนิชณาน,     ในขณะแห่งโลกุตรมรรคท่าน
ประสงค์เอา   ลักขณูปนิชฌาน,  เพราะฉะนั้น   พึงทราบว่า   ชื่อว่า
ฌาน   เพราะเข้าไปเพ่ง   อารมณ์,  เข้าไปเพ่ง   ลักขณะ,  และเข้าไป
เพ่ง   ธรรมเป็นข้าศึก.
             บทว่า    อุปสมฺปชฺช    คือ    เข้าถึง,     อธิบายว่า    บรรลุแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง   อธิบายว่า   เข้าไปถึงแล้ว   คือ   ให้สำเร็จแล้ว.
             บทว่า   วิหรติ   ได้แก่    เป็นผู้มีความพร้อมด้วยฌานมีประการ
ดังกล่าวแล้ว    ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ในอิริยาบถอันเหมาะสม  ควรแก่
ฌานนั้น   ยังความเป็นไปแห่งอัตภาพให้สำเร็จ.
             ในบทว่า   วิตกฺกวิจารานํ   วูปสมา - เพราะวิตกวิจารสงบไปนี้
คือ   เพราะองค์ฌานสองอย่างนี้   คือ  วิตกและวิจาร  สงบ  คือ  ก้าวล่วง
อธิบายว่า   เพราะไม่ปรากฏในขณะทุติยฌาน.   ในบทนั้น   ธรรม   คือ
ปฐมฌานแม้ทั้งหมดไม่มีในทุติยฌานก็จริง,     แต่ผัสสะเป็นต้นเหล่าอื่น
ในปฐมฌานยังมีอยู่.   ในทุติยฌานนี้ไม่มี.   พึงทราบว่า   ท่านกล่าวไว้
อย่างนี้ว่า   วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา   เพื่อแสดงว่า   การบรรลุทุติยฌาน
เป็นต้นเหล่าอื่นจากปฐมฌาน   ย่อมมีได้เพราะก้าวล่วงองค์หยาบ ๆ.
             ในบทว่า    อชฺฌตฺตํ    ในภายในนี้ท่านประสงค์เอาภายในของ
ตน,   เพราะฉะนั้น   จึงเกิดในตน,   อธิบายว่า   เกิดในสันดานของตน.