๕๐๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๐๗
           บทว่า  สมฺปสาทนํ   อันเป็นความผ่องใส    ศรัทธาท่านกล่าวว่า
เป็นความผ่องใส.   แม้ฌานก็เป็นความผ่องใส  เพราะประกอบด้วยความ
เชื่อ   เหมือนผ้าสีเขียวเพราะย้อมด้วยสีเขียว.
           อีกอย่างหนึ่ง    เพราะฌานนั้นเป็นความผ่องใสแห่งจิต    เพราะ
ประกอบด้วยความเชื่อและเพราะสงบ ความกำเริบของวิตกวิจาร,   ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า   สมฺปสาทนํ.   ในอรรถวิกัปนี้    พึงทราบการเชื่อมบท
อย่างนี้ว่า   สมฺปสาทนํ   เจตโส - ความผ่องใสแห่งจิต    ส่วนในอรรถ
วิกัปก่อน  พึงประกอบบทว่า  เจตโส นี้   กับด้วย ศัพท์  เอโกทิภาวะ
- ความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น.
           พึงทราบการแก้อรรถในบทว่า    เอโกทิภาวะ    นั้นดังต่อไปนี้
ชื่อว่า    เอโกทิ    เพราะอรรถว่า    เป็นธรรมเอกเกิดขึ้น     อธิบายว่า
ทุติยฌานเป็นธรรมเลิศประเสริฐผุดขึ้น       เพราะไม่มีวิตกวิจารเกิดขึ้น
ภายใน.   จริงอยู่   แม้บุคคลที่ประเสริฐท่านก็เรียกว่าเป็น เอก  ในโลก.
หรือควรจะกล่าวว่าทุติยฌานเป็นธรรมเอก    ไม่มีสอง    เพราะเว้นจาก
วิตกวิจารดังนี้บ้าง.
          อีกอย่างหนึ่ง   ชื่อว่า  อุทิ.    เพราะเกิดขึ้นในสัมปยุตธรรม. คือ
ยังสัมปยุตธรรมให้เกิดขึ้น.    ชื่อว่า    เอโกทิ    เพราะอรรถว่า    เป็น
ธรรมเอกเกิดขึ้นด้วยอรรถว่า   ประเสริฐที่สุด.   บทนี้เป็นชื่อของสมาธิ.
ทุติยฌานนี้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น  เพราะยังทุติยฌานเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ให้เจริญงอกงาม.    อนึ่ง    เพราะ    เอโกทิ   นี้    เป็นธรรมเอกเกิดขึ้น
แก่จิต   มิใช่แก่สัตว์   มิใช่แก่ชีวะ.   ฉะนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า   เจตโส
เอโกทิภาวํ - ความเป็นธรรมเอกเกิดขึ้นแก่จิต.
             ศรัทธานี้แม้ในปฐมฌานก็มี,   อนึ่ง    สมาธินี้มีชื่อว่า   เอโกทิ
มิใช่หรือ.   เมื่อเป็นเช่นนั้น  เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่า สมฺปสาทนํ
เจตโส  เอโกทิภาวํ - ทุติยฌานอันเป็นการผ่องใสแห่งจิต   เป็นธรรม
เอกผุดขึ้น.  แก้ว่า เพราะปฐมฌานนั้นยังไม่ผ่องใสดีด้วยวิตกวิจารกำเริบ
เหมือนน้ำ  กำเริบด้วยลูกคลื่น,   ฉะนั้น  แม้เมื่อมีศรัทธาท่านก็ไม่กล่าว
ว่า    สมฺปสาทนํ - เป็นความผ่องใส.    อนึ่ง    แม้สมาธิในปฐมฌานนี้
ก็ไม่ปรากฏด้วยดีเพราะไม่ผ่องใส,     เพราะฉะนั้น    ท่านจึงไม่กล่าวว่า
เอโกทิภาวํ.
             อนึ่ง  ในฌานนี้ศรัทธามีกำลังได้โอกา     เพราะไม่มีความพัวพัน
ด้วยวิตกและวิจาร.    ศรัทธามีกำลังสมาธิก็ปรากฏ    เพราะได้เพื่อนนั่น
เอง.   เพราะฉะนั้น   พึงทราบว่า   บทนี้    ท่านจึงกล่าวไว้อย่างนี้.
             บทว่า   อวิตกกํ   อวิจารํ - ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร. ชื่อว่า  อวิตกฺกํ
เพราะอรรถว่า      วิตกไม่มีในฌานนี้หรือแก่ฌานนี้    เพราะละได้ด้วย
ภาวนา.   ชื่อว่า   อวิจารํ   ก็โดยนัยนี้เหมือนกัน.
             ในบทนี้  พระสารีบุตรกล่าวว่า  แม้ด้วยบทนี้ว่า   วิตกฺกวิจารานํ
วูปสมา - เพราะวิตกวิจารสงบ  ก็สำเร็จความนี้แล้วมิใช่หรือ,   เมื่อเป็น