๕๐๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๐๙
เช่นนั้น    เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวว่า    อวิตกฺกํ  อวิจารํ     อีกเล่า.
แก้ว่า  เป็นอย่างนั้นแน่นอน.   สำเร็จความนี้แล้ว,   แต่บทนี้ยังไม่แสดง
ความข้อนั้น,          เราได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่าท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
อวิตกฺกวิจารานํ   วูปสมา   เพื่อแสดงว่าการบรรลุทุติยฌานเป็นต้นอื่น
จากปฐมฌาน   เพราะก้าวล่วงองค์หยาบ ๆ.
             อีกอย่างหนึ่ง   เพราะวิตกวิจารสงบ   ฌานนี้จึงเป็นความผ่องใส
มิใช่ผ่องใสเพราะการสะสมของกิเลส,    อนึ่ง   มิใช่เพราะความปรากฏ
แห่งองค์ดุจปฐมฌาน     เพราะเหตุนั้น     คำกล่าวนี้จึงแสดงถึงเหตุแห่ง
การเข้าทุติยฌานเป็นความผ่องใสเป็นธรรมเอกผุดขึ้นอย่างนี้.
             อนึ่ง    เพราะวิตกวิจาราสงบ    ฌานนี้จึงไม่มีวิตกวิจาร,     มิใช่
เพราะไม่มีดุจตติยฌานและจตุตถฌาน และจักขุวิญญาณเป็นต้น,  เพราะ
เหตุนั้น    คำกล่าวนี้จึงแสดงเหตุของความไม่มีวิตกวิจารอย่างนี้.    มิใช่
แสดงเพียงความไม่มีวิตกวิจาร.    แต่คำกล่าวนี้ว่า    อวิตกฺกํ     อวิจารํ
แสดงเพียงความไม่มีวิตกวิจารเท่านั้น.   เพราะฉะนั้น   แม้กล่าวไว้ก่อน
แล้วก็ควรกล่าวอีกได้.
             บทว่า   สมาธิชํ - เกิดแต่สมาธิ   อธิบายว่า    ทุติยฌานเกิดแต่
สมาธิในปฐมฌานหรือแต่สมาธิที่ถึงพร้อมแล้ว.  ในบทนั้นแม้ปฐมฌาน
เกิดแต่สมาธิที่ถึงพร้อมแล้วก็จริง    ถึงดังนั้นสมาธินี้แลควรจะกล่าวว่า
สมาธิ   ได้   เพราะไม่หวั่นไหวนัก   และเพราะยังไม่ผ่องใสด้วยดีโดยที่
วิตกวิจารยังกำเริบ.    เพราะฉะนั้น  เพื่อพรรณนาถึงคุณของฌานนี้
ท่านจึงกล่าวว่า    สมาธิชํ.    บทว่า   ปีติสุขํ    นี้    มีนัยดังกล่าวแล้ว.
บทว่า   ทุติยํ   คือ ฌานที่สองตามลำดับของการนับ,  ชื่อ  ทุติยํ  เพราะ
เกิดครั้งที่สองบ้าง.
          บทว่า   ปีติยา  จ วิราคา - อนึง  เพราะปีติสิ้นไป  ความว่า
การเกลียดหรือการก้าวล่วงปีติมีประการดังกล่าวแล้ว     ชื่อว่า    วิราคะ,
   ศัพท์ในระหว่างสองบทนั้นเป็น   สัมปิณฑนัตถะ   ลงในอรรถว่า
รวม.      ศัพท์นั้นย่อมรวมความสงบ    หรือวิตกวิจารสงบเข้าด้วยกัน.
เพราะปีติสิ้นไปในขณะที่รวมความสงบไว้ได้นั่งเอง,   อย่างไรก็ดี   โดย
เฉพาะอย่างยิ่ง   พึงทราบการประกอบอย่างนี้ว่า   วูปสมา  จ   ดังนี้.
          อนึ่ง     การสิ้นไปแห่งปีติที่ประกอบไว้นี้     มีความว่าน่าเกลียด,
เพราะฉะนั้น พึงเห็นความนี้ว่า  เพราะน่าเกลียดและก้าวล่วงปีติ,  เพราะ
ปีติสิ้นไปในขณะรวมความสงบแห่งวิตกวิจารไว้,  อย่างไรก็ดี  โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งพึงทราบการประกอบอย่างนี้ว่า   เพราะวิตกวิจารสงบดังนี้.   การ
สิ้นปีติที่ประกอบไว้นี้  มีความว่าก้าวล่วง,   เพราะฉะนั้น   พึงเห็นความ
อย่างนี้ว่า   เพราะปีติก้าวล่วงไป   และเพราะวิตกวิจารสงบ.
           วิตกวิจารเหล่านี้สงบแล้วในทุติยฌานก็จริง,    แต่ถึงดังนั้น  เพื่อ
แสดงมรรคและเพื่อพรรณนาคุณของฌานนี้         ท่านจึงกล่าวบทนี้ไว้.
จริงอยู่   เมื่อท่านกล่าวว่า   วิตกฺกวิจารานํ  วูปสมา  ฌานนี้ย่อมปรากฏ