๕๑๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๑๑
ว่ามรรคของฌานนี้มีวิตกวิจารสงบโดยแน่นอน.   อนึ่ง   เหมือนอย่างว่า
ท่านกล่าวถึงการละไว้อย่างนี้ว่า   ปญฺจนฺนํ  โอรมฺภาคิยานํ   สํโยชนานํ
ปหานา - เพราะละสังโยชน์เบื้องต่ำ  ๕ ดังนี้    เป็นการพรรณนาคุณ
ของกิเลสมีสักกายทิฏฐิเป็นต้น   แต่ไม่ละในอริยมรรคที่ ๓.   เพื่อบรรลุ
ถึงฌานนั้น    การพรรณนาคุณของฌานนั้น    ย่อมให้เกิดอุตสาหะเพื่อ
ความขวนขวายต่อไปฉันใด,   ท่านกล่าวถึงความสงบของวิตกวิจารแม้ยัง
ไม่สงบไว้ในบทนี้    ก็เป็นการพรรณนาคุณฉันนั้นเหมือนกัน.     ด้วย
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวความนี้ไว้ว่า   ปีติยา จ  สมติกฺกมา วิตกฺกวิกวจาร-
นญฺจ  วูปสมา - ก้าวล่วงปีติและสงบวิตกวิจารดังนี้.
          ในบทว่า   อุเปกฺขโก  จ  วิหรติ   ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขานี้มีความ
ดังต่อไปนี้    ชื่อว่า    อุเปกฺขา    เพราะอรรถว่า    เห็นโดยบังเกิดขึ้น.
อธิบายว่า   เห็นเสมอ   คือ   เป็นผู้ไม่ตกไปในพรรค  เห็นอยู่.  เป็นผู้มี
ความพร้อมในตติยฌาน    เพราะประกอบด้วยอุเบกขานั้น    อันบริสุทธิ์
ไพบูลย์   มีกำลัง   ท่านจึงกล่าวว่า   อุเปกฺขโก - เป็นผู้มีอุเบกขา.
          อุเบกขา    มี  ๑๐  อย่าง   คือ  ฉฬังคุเบกขา ๑   พรหมวิหารุ-
เบกขา ๑  โพชฌังคุเบกขา  ๑  วีริยุเบกขา ๑   สังขารุเบกขา      เวท-
๑. ที. สี. ๙/๒๕๒.
นุเบกขา  ๑ วิปัสสนุเบกขา ๑  ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ๑  ฌานุเบกขา ๑
ปาริสุทธุเบกขา ๑.
             ในอุเบกขาเหล่านั้น    ฉฬังคุเบกขา   คือ   อุเบกขา   อันเป็น
อาการของความไม่ละความเป็นปรกติอันบริสุทธิ์      ในคลองอารมณ์ ๖
ทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาในทวาร  ๖    ของพระขีณาสพที่มา
อย่างนี้ว่า  อิธ ภิกฺขเว  ขีณาสโว  ภิกฺขุ รูปํ ทิสฺวา เนว สุมโน
โหติ  น  ทุมฺมโน,  อุเปกฺขโก  จ  วิหรติ  สโต  สมฺปชาโน-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุขีณาสพในศาสนานี้  เห็นรูปแล้วไม่ดีใจ ไม่
เสียใจ,   เป็นผู้มีอุเบกขา   มีสติสัมปชัญญะ.
             พรหมวิหารุเบกขา    คือ   อุเบกขาอันเป็นอากาของความเป็น
กลางในสัตว์ทั้งหลายที่มาแล้วอย่างนี้ว่า   อุเปกฺขาสหคเตน    เจตสา
เอกํ  ทิสํ    ผริตฺวา    วิหรติ -  ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปยัง
ทิศหนึ่งอยู่.
             โพชฌังคุเบกขา    คือ    อุเบกขาอันเป็นอาการของความเป็น
กลางของธรรมอันเกิดร่วมกันที่มาแล้วอย่างนี้ว่า  อุเปกฺขาสมฺโพชฺณงฺคํ
ภเวติ   วิเวกนิสฺสิตํ - ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อาศัยวิเวก.
             วิริยุเบกขา   คือ   อุเบกขาอันได้แก่ความเพียรไม่ย่อหย่อนด้วย
การปรารภถึงความไม่เที่ยงที่มาแล้วอย่างนี้ว่า   กาเลน    กาลํ   อุเปกฺ-
๑. องฺ. ฉกฺก ๒๒/๒๗๒. ๒.ที.สี. ๙/๓๘๔. ๓.ม.ม. ๑๓/๓๓๘.