๕๑๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๑๕
คือ   ปัญญานั่นเอง     โดยกิจแยกออกเป็นสองอย่าง.     เหมือนอย่างว่า
บุรุษเมื่อจะจับงูที่เลื้อยเข้าไปยังเรือน     ในเวลาเย็นแสวงหาไม้ตีนแพะ
เห็นงูนั้นนอนอยู่ที่ห้องเล็ก  จึงมองดูว่า   งูหรือไม่ใช่งู,     ครั้นเห็นเครื่อง
หมาย ๓  แฉกก็หมดสงสัย  ความเป็นกลางในสืบเสาะดูว่างู,     ไม่ใช่งู,
ย่อมเกิดขึ้นฉันใด,  เมื่อภิกษุเจริญวิปัสสนาเห็นไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนา-
ญาณ     ความเป็นกลางในการค้นหาไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น
ของสังขารย่อมเกิดขึ้น   ฉันนั้น นี้   คือ วิปัสสนุเบกขา.    อนึ่ง  เมื่อ
บุรุษนั้นเอาไม้ตีนแพะจับงูจนมั่น  คิดว่า ทำอย่างไร  เราจะไม่ทำร้ายงูนี้
และจะไม่ให้งูนี้กัดตนพึงปล่อยไป  แล้วหาวิธีที่จะปล่อยงูไป ในขณะจับ
นั้น   ย่อมมีความเป็นกลางฉันใด,    ความเป็นกลางในการยึดถือสังขาร
ของภิกษุผู้เห็นภพ ๓   ดุจเห็นไฟติดทั่วแล้ว     เพราะเห็นไตรลักษณ์ก็
ฉันนั้น    นี้   คือ  สังขารุเบกขา.      เมื่อวิปัสสนุเบกขาสำเร็จแล้ว   แม้
สังขารุเบกขาก็เป็นอันสำเร็จแล้วด้วยประการฉะนี้.
           อนึ่ง    ด้วยบทนี้อุเบกขานี้แบ่งเป็นสองส่วน      โดยกิจกล่าวคือ
ความเป็นกลางในการพิจารณาและการจับ.   ส่วนวิริยุเบกขาและเวทนุ-
เบกขา  โดยอรรถยังต่างกันอยู่   คือ   เป็นของต่างซึ่งกันและกัน    และ
ยังต่างจากอุเบกขาที่เหลือ.
๑. กินฺตาหํ อิมํ สปฺปํ อวิเหเ€นฺโต...
                      อนึ่ง  ในอธิการนี้พระสารีบุตรกล่าวว่า
             อุเบกขา  ๑๐  โดยพิสดาร คือ มัชฌัตตุเบกขา
             พรหมวิหารุเบกขา โพชฌังคุเบกขา  ฉฬังคุเบกขา
             ฌานุเบกขา    ปาริสุทธุเบกขา     วิปัสสนุเบกขา
             สังขารุเบกขา  เวทนุเบกขา  และวิริยุเบกขา,  จาก
             นั้นมีมัชฌัตตุเบกขาเป็นต้น ๖  จากปัญญุเบกขา
             อย่างละ  ๒  รวมเป็น ๔.
             ในอุเบกขาเหล่านั้น  ในที่นี้ท่านประสงค์เอาฌานุเบกขา.  ฌานุ-
เบกขานั้นมีลักษณะเป็นกลาง.  ในอธิการนี้พระสารีบุตรกล่าวว่า  อุเบก-
ขานี้โดยอรรถย่อมเป็นตัตรมัชฌัตตุเบกขามิใช่หรือ.  อนึ่ง  อุเบกขานั้น
อยู่แม้ในปฐมฌานและทุติยฌาน.   เพราะเหตุนั้นแม้ในฌานนั้นก็ควร
กล่าวถึงอุเบกขาอย่างนี้ว่า   อุเปกฺขโก  จ  วิหรติ,   เพราะเหตุไรท่าน
จึงไม่กล่าวถึงอุเบกขานั้นเล่า ?  เพราะความไม่เฉียบแหลมเป็นกิจ.   กิจ
ในฌานเป็นของภิกษุนั้นชื่อว่า     ความไม่เฉียบแหลม      เพราะถูกวิตก
เป็นนั้น  ครอบงำ,   แต่ในอธิการนี้  อุเบกขานี้  มีความเฉียบแหลมเป็น
กิจ  เพราะไม่ถูกวิตก  วิจาร  ปีติครอบงำ  ดุจเงยศีรษะขึ้น, เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวไว้.