๕๑๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๑๗
         บัดนี้พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า  สโต  จ  สมฺปชาโน  ดังต่อ
ไปนี้  ชื่อว่า  สโต  เพราะระลึกได้.   ชื่อว่า สมฺปชาโน   เพราะรู้พร้อม.
สติและสัมปชัญญะท่านกล่าวโดยบุคคล.    ในบทนั้นสติมีความระลึกได้
เป็นลักษณะ.  สัมปชัญญะมีความไม่หลงเป็นลักษณะ.    สติสัมปชัญญะ
นี้มีอยู่  แม้ในปุริมฌานก็จริง   ถึงดังนั้นผู้มีสติลุ่มหลง  ไม่มีสัมปชัญญะ
สติสัมปชัญญะแม้เพียงอุปจารก็ยังไม่สมบูรณ์ จะพูดไปทำไมถึง  อัปปนา.
เพราะสติสัมปชัญญะหยาบ   คติแห่งจิตของบุรุษย่อมเป็นสุข   ดุจในภูมิ
แห่งฌานเหล่านั้น,    ความไม่เฉียบแหลม   มีสติสติมปชัญญะในคตินั้น
เป็นกิจ.
         ก็เพราะฌานนี้ละเอียดโดยละองค์อย่างหยาบเสีย    พึงปรารถนา
คติแห่งจิตอย่างนี้   กำหนดสติสัมปชัญญะเป็นกิจ   ดุจบุรุษปรารถนาคติ
ในคมมีดฉะนั้น   เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในที่นี้.    อะไรเล่ายิ่งไป
กว่านั้นเหมือนลูกโคเข้าไปหาแม่โค   ถูกนำออกไปจากแม่โค   ไม่ได้รับ
การดูแล   จึงเข้าไปหาแม่โคอีกฉันใด   สุขในตติยฌานนี้ก็ฉันนั้น    ถูก
นำออกจากปีติอันสติสัมปชัญญะไม่รักษา    พึงเข้าไปหาปีติอีก,   สุขใน
ตติยฌานพึงสัมปยุตด้วยปีตินั่นแล.    สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีแม้ในความ
สุข,  ความสุขนี้มีรสหวานชื่นยิ่งนัก  เพราะไม่มีสุขยิ่งไปกว่านั้น.   เพื่อ
แสดงความพิเศษของอรรถนี้ว่า  ด้วยอานุภาพของสติสัมปชัญญะ ความ
ไม่ยินดีย่อมมีในความสุขนี้   มิได้มีด้วยประการอื่น พึงทราบว่า   ท่าน
จึงกล่าวบทว่า  สโต   จ   สมฺปชาโน  นี้ไว้ในที่นี้.
          บัดนี้    พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า   สุขญฺจ   กาเยน  ปฏิสํเว-
เทติ - ภิกษุเสวยสุขด้วยนามกายดังต่อไปนี้     ภิกษุผู้มีความพร้อมด้วย
ตติยฌาน   ย่อมไม่มีความผูกใจในการเสวยสุขโดยแท้,   แม้เมื่อเป็นเช่น
นั้น  เพราะสุขสัมปยุตด้วยนามกายของภิกษุนั้น,   สุขสัมปยุตด้วยนาม-
กายเป็นของธรรมดา,     เพราะรูปกายของภิกษุนั้นถูกรูปที่ประณีตยิ่ง
อันมีความสุขนั้นเป็นสมุฏฐานถูกต้องแล้ว,       ภิกษุแม้ออกจากฌาน
เพราะรูปประณีตถูกต้องแล้วก็ยังพึงเสวยความสุขอยู่ได้,   ฉะนั้น พระ-
สารีบุตรเมื่อจะแสดงความนี้จึงกล่าวว่า   สุขญฺจ   กาเยน   ปฏิสํเวเทติ
ดังนี้.
          บัดนี้  พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า   ยนฺตํ  อริยา  อาจิกฺขนฺติ
อุเปกฺขโก  สติมา  สุขวิหารี  ดังต่อไปนี้     ภิกษุเข้าตติยฌานที่พระ-
อริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา  มีสติอยู่เป็นสุข
ดังต่อไปนี้   พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น  ย่อมบอก  ย่อม
แสดง  ย่อมบัญญัติ   ย่อมตั้ง   ย่อมเปิดเผย  ย่อมแจกแจง   ย่อมทำให้
ง่าย  ย่อมประกาศ,   อธิบายว่า  ย่อมสรรเสริญบุคคลผู้พร้อมด้วยตติย-
ฌานนั้น  เพราะฌานเป็นเหตุเป็นปัจจัย.   สรรเสริญว่าอย่างไร ?  สรร-