เสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข. ในบทนี้พึงทราบ |
การประกอบอย่างนี้ว่า ภิกษุเข้าตติยฌานนั้นอยู่เป็นสุข ดังนี้. |
ก็เพราะเหตุไรพระอริยเจ้าเหล่านั้น จึงสรรเสริญบุคคลนั้นอย่าง |
นี้ ? เพราะเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ. ด้วยว่าบุคคลนี้แม้เมื่อความสุข |
มีรสสดชื่นยิ่ง บรรลุบารมีอันเป็นความสุขแล้วก็ยังเป็นผู้มีอุเบกขาใน |
ตติยฌาน, ไม่ถูกความข้องต่อความสุขในฌานนั้นฉุดคร่าไว้. ภิกษุชื่อว่า |
มีสติ เพราะตั้งสติไว้มั่นโดยที่ปีติยังไม่เกิด. |
อนึ่ง เพราะภิกษุเสวยสุขไม่เศร้าหมองที่อริยชนใคร่ และอริย- |
ชนเสพด้วยนามกาย ฉะนั้น จึงเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ. เพราะ |
ภิกษุเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ พระอริยเจ้าเหล่านั้นจึงประกาศบุคคล |
นั้นในคุณอันเป็นเหตุควรแก่การสรรเสริญอย่างนี้ พึงทราบว่า ท่าน |
สรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารี - เป็นผู้มีอุเบกขา |
มีสติอยู่เป็นสุขดังนี้. บทว่า ตติยํ ชื่อว่า ตติยะ เพราะตามลำดับของ |
การนับ. ชื่อว่า ตติยะ เพราะเกิดเป็นครั้งที่ ๓ บ้าง. |
บทว่า สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา - เพราะ |
ละสุขและละทุกข์ ได้แก่ เพราะละสุขทางกาย และทุกข์ทางกาย. |
บทว่า ปุพฺเพว คือ เพราะละสุขและทุกข์นั้นก่อนๆ ได้, มิ |
ใช่ละได้ในขณะจตุตถฌาน. บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺ- |
คมา - เพราะดับโสมนัสและโทมนัสได้ คือ เพราะดับโสมนัสและโทม- |