อนึ่ง แม้สุขินทรีย์ละได้แล้วในอุปจารแห่งตติยฌาน กายที่ถูก |
รูปประณีตมีปีติเป็นสมุฏฐานก็พึงเกิดขึ้นได้, ในตติยฌานไม่ต้องพูดถึง |
กันละ. เพราะในตติยฌานปีติเป็นปัจจัยแห่งความสุขเป็นอันดับไปโดย |
ประการทั้งปวง. เพราะโสมนัสสินทรีย์แม้ละได้ในอุปจารแห่วจตุตถ- |
ฌานก็ใกล้เข้าไปแล้วเช่นกัน เพราะไม่มีอุเบกขาที่ถึงขั้นอัปปนา และ |
เพราะไม่ก้าวล่วงไปโดยชอบ ปีติก็จะพึงเกิดขึ้นได้. ในจตุตถฌานไม่ต้อง |
พูดถึงกันละ. เพราะฉะนั้นจึงถือเอาโดยไม่เหลือในบทนั้น ๆ ว่า เอตฺ- |
ถุปฺปนฺนํ ทุกฺขินฺทฺริยํ อปริเสสํ นิรุชฺฌติ - ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว |
ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้. |
ในบทนี้พระเถระกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นเวทนาแม้ละได้แล้ว |
ในอุปจารแห่งฌานนั้น ๆ อย่างนี้ เหตุใดจึงนำมารวมไว้ในที่นี้อีก ? เพื่อ |
ถือเอาสุขเวทนา. จริงอย่างนั้นอทุกขมสุขเวทนาที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้ |
ว่า อทุกฺขมสุขํ เป็นเวทนาที่ละเอียดอ่อนรู้ได้ยาก. คือ ไม่สามารถ |
ถือเอาได้ง่ายนัก, เพราะฉะนั้น จึงนำเวทนาทั้งหมดมารวมกันเพื่อถือ |
เอาความสุขเหมือนคนเลี้ยงโคนำโคทั้งหมดมารวมกันในคอกเดียว เพื่อ |
จะจับโคดุ ซึ่งไม่มีใครสามารถจะเข้าไปจับใกล้ ๆ ได้ เพราะมันเป็นโคดุ, |
ครั้นแล้วจึงนำออกทีละตัว สั่งให้จับตัวที่มาถึงตามลำดับว่านี้โคตัวนั้นจับ |
มันดังนี้. ครั้นแสดงเวทนาเหล่านี้ที่นำมารวมไว้อย่างนี้แล้วว่า สิ่งใด |