๕๒๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๒๓
ไม่ใช่สุข,  ไม่ใช่ทุกข์,  ไม่ใช่โสมนัส,  ไม่ใช่โทมนัส   สิ่งนี้เป็นอทุกขม-
สุขเวทนาดังนี้แล้วจึงสามารถกำหนดถือเอาเวทนานี้ได้.
           อีกอย่างหนึ่งพึงทราบว่า   ท่านกล่าวถึงเวทนาเหล่านี้ก็เพื่อแสดง
เหตุของเจโตวิมุตติด้วยอทุกขมสุขเวทนา. เพราะว่าการละสุขเวทนาและ
ทุกขเวทนาเป็นต้น   เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น.      ดังที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า  ดูก่อนอาวุโส  ปัจจัย ๔ แล  เพื่อความถึงพร้อมเจโต-
วิมุตติ  อันเป็นอทุกขมสุขเวทนา,  ดูก่อนอาวุโส  ภิกษุในธรรม-
วินัยนี้  เพราะละสุขและทุกข์ ฯลฯ   เข้าถึงจตุตถฌานอยู่,   ดูก่อน
อาวุโส  ปัจจัย ๔ เหล่านี้แล    เพื่อความถึงพร้อมแห่งเจโตวิมุตติ
อันเป็นอทุกขมสุขเวทนา.
           อีกอย่างหนึ่ง   ท่านกล่าวถึงสักกายทิฏฐิเป็นต้น     แม้ละได้แล้ว
ในที่อื่นก็เป็นอันละได้ในที่นั้น      เพื่อพรรณนาคุณของอนาคามิมรรค
ฉันใด,     พึงทราบว่า   ท่านกล่าวถึงเวทนาเหล่านั้นไว้ในที่นี้    ก็เพื่อ
พรรณนาคุณของฌานนี้ฉันนั้น.   อีกอย่างหนึ่ง  พึงทราบว่าในที่นี้ท่าน
กล่าวถึงเวทนาเหล่านั้น  เพื่อแสดงถึงความที่ราคะโทสะยังไกลนักด้วย
การทำลายเหตุ.     จริงอยู่ในเวทนาเหล่านั้น   สุขเวทนาเป็นปัจจัยแห่ง
โสมนัส,    โสมนัสเป็นปัจจัยแห่งราคะ,   ทุกขเวทนาเป็นปัจจัยแห่งโทม-
๑. ม.ม. ๑๒/๕๐๓.
นัส,   โทมนัสเป็นปัจจัยแห่งโทสะ.   อนึ่ง   ราคะโทสะพร้อมด้วยเหตุถูก
ทำลายเสียแล้วด้วยการทำลายสุขเวทนาเป็นต้น   เพราะเหตุนั้น  เวทนา
เหล่านั้นจึงอยู่ในที่ไกลนัก.
        บทว่า  อทุกขมสุขํ  ชื่อว่า  อทุกฺขํ  เพราะไม่มีทุกข์.   ชื่อว่า
อสุขํ  เพราะไม่มีสุข.  ด้วยบทนี้ท่านแสดงเวทนาที่  ๓ อันเป็นปฏิปักษ์
ต่อทุกข์และสุขไว้ในที่นี้.  ไม่แสดงเพียงความไม่มีทุกข์และสุข.  อทุกขม-
สุขเวทนา  ชื่อว่าเวทนาที่  ๓,  ท่านกล่าวว่าอุเบกขาบ้าง.  อุเบกขาเวทนา
นั้นมีลักษณะเสวยอารมณ์ตรงกันข้ามกับอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์.
         บทว่า  อุเปกฺขาสติปาริสุทธึ   คือ  ความบริสุทธิ์ของสติเกิดด้วย
อุเบกขา.   เพราะสติบริสุทธิ์ด้วยมีในฌานนี้,  ความบริสุทธิ์แห่งสตินั้น
บำเพ็ญด้วยอุเบกขา,   มิใช่ด้วยอย่างอื่น.     เพราะฉะนั้น   ท่านจึงกล่าว
บทนี้ว่า  อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ.      พึงทราบว่า  ความบริสุทธิ์แห่งสติ
ด้วยอุเบกขาในที่นี้โดยอรรถ  ได้แก่  ตัตรมัชฌัตตตา.  อนึ่ง   ในที่นี้
มิใช่สติบริสุทธิ์ด้วยอุเบกขาอย่างเดียวเท่านั้น,  สัมปยุตธรรมแม้ทั้งหมด
ก็บริสุทธิ์ด้วย   แต่ท่านกล่าวเทศนาด้วยหัวข้อของสติ.
            ในเวทนาเหล่านั้น   อุเบกขาเวทนานี้มีอยู่ในฌาน  ๓  เบื้องต่ำก็
จริง  ก็ดวงจันทร์คือตัตรมัชฌัตตุเบกขาแม้นี้   ครอบงำด้วยเดชแห่งธรรม
อันเป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้น  ไม่ได้ราตรี  คือ อุเบกขาเวทนาอันเป็นสภาค