๕๒๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๒๗
นั้น  ย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้นผู้ได้ฌานนั้น.  เธอย่อมกำหนดฌานเป็นบาท
เท่านั้น  ด้วยประการฉะนี้.
             ส่วนพระเถระบางรูปกล่าวว่า  ขันธ์อันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา
ย่อมกำหนด.  บางรูปกล่าวว่า   อัธยาศัยของบุคคล  ย่อมกำหนด   บาง
รูปกล่าวว่า   วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี   ย่อมกำหนด.
             ในบทนั้นมีกถาตามลำดับอย่างนี้     มรรคที่เกิดขึ้นแก่พระสุกข-
วิปัสสกโดยกำหนดวิปัสสนาบ้าง, มรรคที่ไม่ทำฌานให้เป็นบาทเกิดขึ้น
แก่ผู้ได้สมาบัติบ้าง,    มรรคที่ภิกษุทำปฐมฌานให้เป็นบาทแล้วพิจารณา
สังขารเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เกิดขึ้นบ้าง, ย่อมมีอยู่ในปฐมฌานทั้งนั้น ใน
มรรคทั้งหมด  ได้แก่   โพชฌงค์  ๗  องค์มรรค  ๘   องค์ฌาน  ๕.
วิปัสสนาอันเป็นส่วนเนื่องต้นของมรรคเหล่านั้น    สหรคตด้วยโสมนัส
บ้าง     สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง   ถึงความเป็นสังขารุเบกขาในเวลาออก
เป็นอันสหรคตด้วยโสมนัสทั้งนั้น.
             พึงทราบวินิจฉัยในปัญจกนัยดังต่อไปนี้  ฌานมีองค์  ๔ มีองค์  ๓
และมีองค์ ๒  ย่อมมีตามลำดับในมรรคที่ภิกษุทำทุติยฌานตติยฌานและ
จตุตถฌานให้เป็นบาทแล้วให้เกิดขึ้น.    ในฌานทั้งหมดองค์มรรคมี  ๗
ในฌานที่  ๔   โพชฌงค์มี ๖.     ความวิเศษนี้ย่อมมิได้ด้วยการกำหนด
ฌานเป็นบาท  และด้วยการกำหนดวิปัสสนา.
                  จริงอยู่   วิปัสสนาเป็นส่วนเบื้องต้นของฌานเหล่านั้น   เป็นอัน
สหรคตด้วยโสมนัสบ้าง    สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง,  วุฏฐานคามินี  สหร-
คตด้วยโสมนัสเท่านั้น.  องค์ฌาน ๒ ด้วยสามารถแห่งอุเบกขาและความ
มีจิตมีอารมณ์เดียว ในมรรคที่ทำปฐมฌานให้เป็นบาทแล้วเกิดขึ้น,   องค์
แห่งโพชฌงค์ ๖ และ ๗.   ความวิเศษแม้นี้ย่อมมีด้วยสามารถความนิยม
ทั้งสอง.
                  จริงอยู่  ในนัยนี้วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้น   สหรคตด้วยโสมนัส
หรือสหรคตด้วยอุเบกขา.    วุฏฐานคามินี    สหรคตด้วยอุเบกขาเท่านั้น.
นี้ในมรรคที่ภิกษุทำอรูปฌานให้เป็นบาทแล้วให้เกิดขึ้น   ก็พึงทราบนัย
นี้เหมือนกัน.     ส่วนในจตุกนัยนี้พึงนำวิตกวิจารออกไป   แล้วประกอบ
ส่วนที่เหลือ    เพราะทุติยฌานไม่มีวิตกวิจาร.   สมาบัติที่ภิกษุอยู่ในที่ที่
ใกล้มรรค       ซึ่งภิกษุออกจากฌานเป็นบาทอย่างนี้แล้วพิจารณาสังขาร
อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วทำให้เกิดขึ้น  ย่อมทำสมาบัติเช่นกับตน เช่นเดียว
กับเหี้ยทำสีให้เหมือนสีพื้นดินฉะนั้น.
                  ในวาทะของพระเถระรูปที่  ๒ มีอยู่ว่ามรรคย่อมเป็นเช่นกับสมา-
บัติที่ภิกษุออกแล้วพิจารณาถึงธรรมในสมาบัติเกิดขึ้น.  แม้ในวาทะของ
พระเถระนั้นพึงทราบวิปัสสนานิยม   โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
                  ในวาทะของพระเถระรูปที่ ๓    มีว่ามรรคเป็นเช่นกับฌานที่ทำ
ให้เป็นบาท  ตามสมควรแก่อัธยาศัยของตนแล้ว  พิจารณาธรรมในฌาน