๕๒๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๒๙
เกิดขึ้น.     ฌานนั้นเว้นฌานเป็นบาท  หรือฌานที่พิจารณาแล้ว   ย่อม
ไม่สำเร็จโดยเพียงอัธยาศัยเท่านั้น.     อนึ่ง   แม้ในวาทะของพระเถระ
ก็พึงทราบวิปัสสนานิยม   โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
             บทว่า  อยํ   วุจฺจติ  สมฺมาสมาธิ - นี้ท่านกล่าวว่าสัมมาสมาธิ
ความว่า   ความที่จิตมีอารมณ์เดียวในฌาน ๔ เหล่านี้   ในส่วนเบื้องต้น
เป็นโลกิยะ,     ในส่วนเบื้องปลายเป็นโลกุตระ     ท่านกล่าวว่า    ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ.      พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแสดงมรรคสัจด้วยโลกิยะ
และโลกุตระด้วยประการฉะนี้.
              องค์มรรคทั้งหมดในโลกิยมรรคนั้น    เป็นอารมณ์อย่างใดอย่าง
หนึ่ง  ในอารมณ์  ๖   ตามสมควร.    ส่วนในโลกุตรมรรค  สัมมาทิฏฐิ
อันเป็นปัญญาจักษุถอนอวิชชานุสัย     มีนิพพานเป็นอารมณ์ของความ
เป็นอริยะ   เป็นไปแล้วด้วยการแทงตลอดอริยะสัจ ๔,
             อนึ่ง   สัมมาสังกัปปะ   คือการยกขึ้นสู่บทแห่งนิพพานทางใจ
ถอนมิจฉาสังกัปปะ ๓ อย่าง  สัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐินั้น  ของผู้มี่ทิฏฐิถึง
พร้อมแล้ว,
             สัมมาวาจา   เว้นมิจฉาวาจา   ถอนวจีทุจริต ๔ อย่าง   สัมปยุต
ด้วยสัมมาสังกัปปะนั้นของผู้เห็นและตรึกอย่างนั้น
             สัมมากัมมันตะ เว้นมิจฉากัมมันตะตัดมิจฉากัมมันตะ ๓ อย่าง
สัมปยุตด้วยสัมมาวาจานั้นของผู้เว้นอย่างนั้น,
             สัมมาอาชีวะคือเว้นจากมิจฉาอาชีวะตัดความหลอกลวงเป็นต้น
สัมปยุตด้วยสัมมากัมมันตะนั้น       เป็นความผ่องแผ้วของวาจากัมมันตะ
เหล่านั้นของบุคคลนั้น.
             สัมมาวายามะ   ปรารภความเพียร  ตัดความเกียจคร้าน  สัมปยุต
ด้วยสัมมากัมมันตะนั้น สมควรแก่สัมมากัมมันตะนั้น  ของบุคคลผู้ตั้งอยู่
ในศีลภูมิ    กล่าวคือ   สัมมาวาจา    สัมมากัมมันตะ    และสัมมาอาชีวะ
และให้สำเร็จโดยไม่ให้อกุศลเกิดขึ้น    ละอกุศลที่เกิดขึ้น    ทำกุศลที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น  ตั้งมั่นอยู่ในกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว,
             สัมมาสติ    ความที่จิตไม่ลุ่มหลง    กำจัดมิจฉาสติสัมปยุตด้วย
สัมมาวายามะนั้นของผู้พยายามอยู่อย่างนี้  และให้สำเร็จการพิจารณากาย
ในกายเป็นต้น,
             สัมมาสมาธิ    ความที่จิตมีอารมณ์เดียวกำจัดมิจฉาสมาธิสัมปยุต
ด้วยสัมมาสตินั้นของผู้ที่คุ้มครองจิต       ตั้งจิตไว้ดีด้วยสติอย่างยอดเยี่ยม.
นี้  คือ   อัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ   เป็นโลกุตระ.
             มรรคที่เป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นั้น  พร้อมด้วยโลกิย-
มรรค  ได้แก่   วิชชา   และ   จรณะ    เพราะสงเคราะห์สัมมาทิฏฐิและ
สัมมาสังกัปปะด้วย  วิชชา    สงเคราะห์ธรรมที่เหลือด้วย   จรณะ.   อนึ่ง.
ได้แก่   สมถะและวิปัสสนา   เพราะสงเคราะห์ธรรมทั้งสองอย่างนั้นด้วย