๕๓๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๓๑
วิปัสสนายาน   สงเคราะห์ธรรมนอกนั้นด้วยสมถยาน.   ได้แก่ขันธ์ ๓
และสิกขา ๓    เพราะสงเคราะห์ธรรมทั้งสองนั้นด้วยปัญญาขันธ์    สง-
เคราะห์ธรรม ๓ อย่างในลำดับธรรมนั้นด้วยสีลขันธ์   สงเคราะห์ธรรม
๓ อย่างที่เหลือด้วยสมาธิขันธ์  และสงเคราะห์ด้วยอธิปัญญาสิกขา  อธิ-
สีลสิกขา  และอธิจิตตสิกขา.
          พระอริยสาวกประกอบด้วยมรรค  เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ    ดุจคนเดินทางไกลประกอบด้วยตาสามารถเห็นได้    และด้วย
เท้าสามารถเดินไปได้ เว้นที่สุด ๒ อย่าง คือ เว้น กามสุขัลลิกานุโยค
ด้วยวิปัสสนายาน    เว้น     อัตกิลมถานุโยค   ด้วยสมถยาน  ปฏิบัติ
มัชฌิมาปฏิปทา     ทำลายกองโมหะด้วยปัญญาขันข์...   กองโทสะด้วย
สีลขันธ์...กองโลภะด้วยสมาธิขันธ์    ถึงสมบัติ ๓ คือ ปัญญาสัมปทาด้วย
อธิปัญญาสิกขา,     สีลสัมปทาด้วยอธิสีลสิกขา,     สมาธิสัมปทาด้วยอธิ-
จิตตสิกขา    แล้วบรรลุนิพพานอันเป็นอมตะ.      ภิกษุหยั่งลงสู่อริยภูมิ
กล่าวคือ     สัมมัตตนิยาม    อันวิจิตรด้วยธรรมรัตนะ    คือ    โพธิ-
ปักขิยธรรม ๓๗  งามในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด  ด้วยประการฉะนี้.
                             จบ  อรรถกถามรรคสัจนิทเทส
อรรถกถาสัจปกิณกะ
             ก็ในสัจจะ ๔  เหล่านั้น   ทุกขสัจจะ    มีลักษณะเบียดเบียน.
สมุทยสัจจะ   มีลักษณะเป็นแดนเกิด,    นิโรธสัจจะ   มีลักษณะสงบ,
มรรคสัจจะ   มีลักษณะนำออก,   อีกอย่างหนึ่ง   อริยสัจมีปวัตติ- การ
เป็นไป    มีปวัตตกะ-ผู้ให้เป็นไป   มีนิวัตติ-การไม่เป็นไป     และมี
นิวัตตกะ-เหตุไม่เป็นไป  เป็นลักษณะโดยลำดับ  และมีสังขตะคือทุกข์
มีตัณหา  คือเหตุให้เกิดทุกข์  มีอสังขตะ  คือนิพพาน  และมีทัศนะ  คือ
มรรคเป็นลักษณะเหมือนกัน
              หากมีคำถามว่า ก็เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวอริยสัจ ๔ ไม่หย่อน
ไม่ยิ่ง.      เพราะไม่มีอย่างอื่น    และเพราะไม่ควรทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ออกไป.    เพราะว่าสิ่งอื่น   หรือยิ่งไปกว่านี้   หรืออริยสัจเหล่านั้นจะพึง
นำออกแม้อย่างเดียว  ไม่มี.
             สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
                     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    สมณะหรือพราหมณ์
             พึงมาในที่นี้  กล่าวว่า   ข้อที่พระสมณโคดมแสดง
             ไม่ใช่ทุกขอริยสัจ     ทุกขอริยสัจเป็นอย่างอื่นนั้น,
             เราจักบัญญัติทุกขอริยสัจอย่างอื่น   เว้นทุกขอริย-
             สัจ ๔ ดังนี้ ข้อนั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ดังนี้เป็นต้น.