๕๓๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๓๓
             ตรัสไว้อีกว่า
                     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    สมณะหรือพราหมณ์
             เหล่าใดเหล่าหนึ่ง    พึงกล่าวอย่างนี้ว่า    ข้อที่พระ
             สมณโคดมแสดงว่านี้มิใช่ทุกข์     อันเป็นอริยสัจ
             ข้อที่    ๑,    เราจักบัญญัติทุกข์อื่นอันเป็นอริยสัจ
             ข้อที่  ๑ โดยบอกปัดทุกข์นี้อันเป็นอริยสัจข้อที่ ๑.
             เสียดังนี้   ข้อนั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ดังนี้เป็นต้น.
             อีกอย่างหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงบอกปวัตติ-ความ
เป็นไป   จึงทรงบอกพร้อมด้วยเหตุ,  และบอกนิวัตติ   คือพระนิพพาน
พร้อมด้วยอุบาย    คือมรรค.    เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
อริยสัจ ๔ โดยเป็นธรรมอย่างยิ่งไปกว่านั้นแห่งเหตุทั้ง   ๒  ประการ คือ
ของปวัตติ- ความเป็นไปและนิวัตติ - การกลับไป.
             อนึ่ง ท่านกล่าวถึงอริยสัจ ๔ ด้วยสามารถแห่งตัณหาวัตถุ ตัณหา
ตัณหานิโรธ    และอุบายดับตัณหา,  และความอาลัย   ยินดีในความอาลัย
ถอนความอาลัย     และอุบายในการถอนความอาลัย,    อันควรกำหนดรู้
ควรละ   ควรทำให้แจ้ง    และควรทำให้เกิด.
            อนึ่ง  ในอริยสัจนี้ท่านกล่าว   ทุกขสัจ   เป็นข้อที่  ๑    เพราะ
ทุกขสัจ   รู้ได้ง่าย   เพราะเป็นของหยาบ   และเพราะเป็นของทั่วไปแก่
๑. สํ. มหา. ๑๙/๑๑๙๓.
สัตว์ทั้งปวง. เพื่อแสวงถึงเหตุแห่งทุกขสัจนั้น  ท่านจึงกล่าว สมุทยสัจ
ในลำดับต่อไป,      เพื่อไห้รู้ว่าการดับผลได้      เพราะดับเหตุ     จึงกล่าว
นิโรธสัจ   ต่อจากนั้น,    เพื่อแสดงอุบายให้บรรลุ   นิโรธสัจ นั้น   จึง
กล่าว  มรรคสัจ  ในที่สุด .   อีกอย่างหนึ่ง  ท่านกล่าวถึง  ทุกขสัจ  ก่อน
เพื่อให้เกิดความสังเวชแก่สัตว์ทั้งหลายผู้ถูกมัดด้วยความพอใจ  ความ
สุขในภพ    ทุกข์นั้นบุคคลไม่ทำแล้วย่อมไม่มาถึง, ย่อมไม่มีโดยไม่ถือตัว
ว่าเป็นใหญ่เป็นต้น,   แต่ย่อมมีได้ด้วยเหตุนี้   เพื่อให้รู้ดังนี้ท่านจึงกล่าว
สมุทยสัจ    ในลำดับจากทุกขสัจนั้น  เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งใจ.
ด้วยการเห็นอุบายสลัดออกของผู้แสวงหาอุบายสลัดออกจากทุกข์    มี
ความสลดใจ       เพราะถูกทุกข์พร้อมด้วยเกตุครอบงำ     ท่านจึงกล่าว
นิโรธสัจ   ต่อจากนั้น,     จากนั้นเพื่อบรรลุนิโรธท่านจึงกล่าว    มรรค
อันให้ถึงนิโรธ   นี้เป็นลำดับของอริยสัจเหล่านั้น  ด้วยประการฉะนี้.
          อนึ่ง  ในอริยสัจเหล่านี้ควรเห็น  ทุกขสัจ  ดุจเป็นภาระ,   ควร
เห็น  สมุทยสัจ     ดุจแบกภาระ,   ควรเห็น  นิโรธสัจ  ดุจการวางภาระ,
ควรเห็น   มรรคสัจ   ดุจอุบายวางภาระ.
         อีกอย่างหนึ่ง  ควรเห็น ทุกขสัจ  ดุจโรค,  ควรเห็น  สมุทย-
สัจ   ดุจเหตุของโรค,    ควรเห็น   นิโรธสัจ   ดุจโรคสงบ,    ควรเห็น
มรรคสัจ   ดุจเภสัช.    อีกอย่างหนึ่ง   ควรเห็น   ทุกขสัจ   ดุจข้าวยาก