๕๓๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๓๕
หมากแพง,   ควรเห็น   สมุทยสัจ   ดุจฝนแล้ง,   ควรเห็น   นิโรธสัจ
ดุจข้าวปลาหาง่าย,   ควรเห็น   มรรคสัจ   ดุจฝนตกต้องตามฤดูกาล.
              อีกอย่างหนึ่ง    พึงประกอบอริยสัจเหล่านี้แล้ว     พึงทราบโดย
เปรียบเทียบด้วยคนมีเวร  เหตุของเวร การถอนเวร  อุบายการถอนเวร,
ด้วยต้นไม้มีพิษ  รากต้นไม้  การทำลายราก   และอุบายทำลายรากนั้น,
ด้วยภัย   เหตุของภัย    ความไม่มีภัยและอุบายบรรลุถึงความไม่มีภัยนั้น,
ด้วยฝั่งใน ห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งนอก  และความพยายามให้ถึงฝั่งนอกนั้นด้วย
ประการฉะนี้.
             อนึ่ง   พึงทราบสัจจะเหล่านี้ทั้งหมดโดยปรมัตถ์ว่า  สูญ    เพราะ
ไม่มีผู้เสวย   ผู้ทำ   ผู้ดับ   และผู้ไป.   ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
                      ทุกฺขเมว  หิ  น  โกจิ  ทุกฺขิโต
                      การโก  น  กิริยาว  วิชฺชติ,
                      อตฺถิ  นิพพุติ  น  นิพพุโต  ปุมา
                      มคฺคมตฺถิ  คมโก   น  วิชฺชติ.
                      ความจริงทุกข์เท่านั้นมีอยู่   แต่ไม่มีใครๆถึง
             ทุกข์  กิริยาคือการทำมีอยู่  แต่ผู้ทำไม่มี,  ความดับ
             มีอยู่   แต่คนดับไม่มี  ทางมีอยู่   แต่ผู้เดินไม่มี.
             อึกอย่างหนึ่ง   ท่านกล่าวว่า
             ธุวสุภสุขตฺตสุญฺํ   ปุริมทฺวยมตฺตสุญฺมมตํ ปทํ
             ธุวสุตฺตวิรหิโต   มคฺโค      อิติ   สุญฺตา  เตสุ.
                          ความว่างในสัจจะ ๔ เหล่านั้น      พึงทราบ
             อย่างนี้ว่า   สัจจะ  ๒ บทแรกคือทุกข์สมุทัย    ว่าง
             จากความเที่ยง   ความงาม   ความสุข   และอัตตา
             อมตบท    คือพระนิพพาน  ว่างจากอัตตา    มรรค
             ว่างจากความยั่งยืน  ความสุข   และอัตตา    ดังนี้.
             อีกอย่างหนึ่ง   สัจจะ ๓ อย่างสูญจากนิโรธ,   และนิโรธก็สูญ
จากสัจจะ ๓ อย่างที่เหลือ.   อีกอย่างหนึ่ง  ในสัจจะ ๔ เหล่านี้   เหตุสูญ
จากผล   เพราะไม่มีทุกข์ในสมุทัย,   และไม่มีนิโรธในมรรค,   เหตุไม่
ร่วมครรภ์กับผล   ดุจปกติของลัทธิทั้งหลาย  มีปกติวาทีเป็นต้น    อนึ่ง
ผลก็สูญจากเหตุ     เพราะทุกข์สมุทัย     และนิโรธมรรคไม่ได้เสมอกัน,
ผลนั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกับเหตุ   แต่เป็นเหตุเป็นผล   ดุจสองอณูของ
ลัทธิทั้งหลายมีสมวายวาทีเป็นต้น.   ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
             ตยมิธ  นิโรธสุญฺํ    ตเยน เตนาปิ  นิพฺพุตี สุญฺา
             สุญฺโ  ผเลน เหตุ    ผลมฺปิ  ตํเหตุนา  สุํ.
                        ในที่นี้สัจจะ ๓ อย่าง  สูญจากนิโรธ   นิโรธ
            ก็สูญจากสัจจะ ๓ อย่างแม้นั้น    สัจจะที่เป็นเหตุ