๕๓๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๓๗
             สูญจากสัจจะที่เป็นผล  แม้สัจจะที่เป็นผล  ก็สูญ
             จากสัจจะที่เป็นเหตุนั้น  ดังนี้.
             สัจจะทั้งหมดเป็นสภาคะของกันและกัน โดยความจริงแท้   โดย
สูญจากตัวตน และโดยแทงตลอดสิ่งที่ทำได้ยาก   ดังที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่า
                  ดูก่อนอานนท์    เธอย่อมสำคัญความข้อนั้น
             เป็นอย่างไร,      อย่างไหนจะทำได้ยากกว่ากันหรือ
             จะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน    คือการที่ยิงลูกศรให้
             เข้าไปติดๆ กันทางช่องดาลอันเล็ก    แต่ที่ใกล้ได้
             ไม่ผิดพลาด     กับการที่บุคคลแทงปลายขนทราย
             ด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกแล้วเป็น ๗ ส่วน.
                       พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
             การแทงปลายขนทราย    ด้วยปลายขนทรายที่แบ่ง
             ออกแล้วเป็น ๗ ส่วน     กระทำได้ยากกว่า    และ
             ให้เกิดได้ยากว่า   พระเจ้าข้า.
                      พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า     ดูก่อนอานนท์
             ชนเหล่าใด   ย่อมแทงตลอดตามความเป็นจริงว่านี้
๑.สี. ม. เป็นสตธา ร้อยส่วน.
             ทุกข์  ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  ชนเหล่านั้น
             ย่อมแทงตลอดได้ยากกว่าโดยแท้   ดังนี้.
             สัจจะทั้งหลายเป็นวิสภาคะกันเพราะกำหนดด้วยลักษณะของ
ตน. สัจจะสองข้างต้นเป็นสภาคะกัน ด้วยอรรถว่าเรียนรู้ยากเพราะลึกซึ้ง
เพราะเป็นโลกิยะ  และเพราะมีอาสวะ,  เป็นวิสภาคะกัน  เพราะต่างเป็น
เหตุผลกัน   และเพราะควรกำหนดรู้และควรละ.     แม้สองข้อหลังก็เป็น
สภาคะกันด้วยความเป็นธรรมลึกซึ้ง  เพราะเรียนรู้ได้ยาก    เพราะเป็น
โลกุตระ  และเพราะไม่มีอาสวะ,   เป็นวิสภาคะกัน  เพราะต่างก็เป็นใหญ่
ในวิสัย    และเพราะควรทำให้แจ้ง   ควรทำให้เกิด.      แม้ข้อที่ ๑ และ
ข้อที่ ๓   ก็เป็นสภาคะกันโดยอ้างถึงผล,    เป็นสภาคะกันโดยเป็นสังขตะ
และอสังขตะ.  แม้ข้อที่ ๒ และข้อที่๔  ก็เป็นวิสภาคะกันโดยอ้างถึงเหตุ
เป็นวิสภาคะกันโดยเป็นกุศลและอกุศลส่วนเดียว    สัจจะที่ ๑   และที่ ๔
เป็นสภาคะกัน  เป็นสังขตธรรมด้วยกัน, เป็นวิสภาคะกันโดยเป็นโลกิยะ
และโลกุตร ธรรมข้อที่  ๒  และข้อที่  ๓   ก็เป็นสภาคะกันโดยความเป็น
เสกขะก็ไม่ใช่  อเสกขะก็ไม่ใช่,   เป็นวิสภาคะกันโดยมีอารมณ์   และ
ไม่มีอารมณ์.  ท่านกล่าวไว้ว่า
             อิติ   เอวํ  ปกาเรหิ         นเยหิ   จ  วิจกฺขโณ
             วิชญฺา   อริยสจฺจานํ    สภาคติสภาคตํ
๑. ส มหา. ๑๙/๑๗๓๘.