๕๔๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๔๑
อย่าง    โดยเป็นสิ่งควรละ  โดยเป็นสิ่งไม่ควรละ  และโดยเป็นสิ่งควรละ
ก็หามิได้  เป็นสิ่งไม่ควรละก็หามิได้   จาทัศนะและภาวนา.    เป็น ๔
อย่าง     โดยเป็นสิ่งควรกำหนดรู้   ควรละ   ควรทำให้แจ้ง   และควรทำ
ให้เกิด.   ท่านกล่าวว่า
             เอวํ  อริยสจฺนํ       ทุพฺโพธานํ  พุโธ  วิธึ
             อเนกเภทโต  ชญฺา    หิตาย  จ  สุขาย  จ.
                     พระพุทธเจ้าทรงรู้วิธีของอริยสัจอย่างนี้      ที่รู้
             ได้ยาก  โดยประเภทไม่น้อย   เพื่อประโยชน์และ
             เพื่อความสุข  ดังนี้.
                                   จบ  อรรถกถาสัจปกิณกะ
             บัดนี้       พระธรรมเสนาบดีชี้แจงสัจจตุกนัยในที่สุดตามลำดับที่
 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนั้นแล  แล้วแสดงสรุปสุตมยญาณด้วย
 สัจจตุกนัยมีอาทิว่า  ตํ   าตฏฺเ€น   าณํ-ชื่อว่าญาณว่าด้วยอรรถว่ารู้
ธรรมนั้น,   ครั้นแล้วพระธรรมเสนาบดีแสดงสรุปอริยสัจทั้งหมดที่ท่าน
กล่าวไว้ในครั้งก่อนว่า  โสตาวทาเน  ปญฺา  สุตมเยาณํ-ปัญญา
ในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว  ชื่อว่า สุตมยาณ ด้วยประการ-
ฉะนี้.
                          จบ   อรรถกถาสุตมยญาณนิทเทส
สีลมยญาณนิทเทส
             [๘๖]  ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสำรวมไว้  ชื่อว่าสีลมยญาณ
อย่างไร ?
           ศีล ๕ ประเภท  คือ  ปริยันตปาริสุทธิศีล-ศีลคือความบริสุทธิ์
มีส่วนสุด  ๑.  อปริยันตปาริสุทธิศีล-ศีลคือความบริสุทธิ์ไม่มีส่วนสุด
ปริปุณณปาริสุทธิศีล-ศีลคือความบริสุทธิ์เต็มรอบ ๑.   อปรามัฏฐปาริ-
สุทธิศีล-ศีลคือความบริสุทธิ์อันทิฏฐิไม่จับต้อง  ๑. ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิ
ศีล-ศีลคือความบริสุทธิ์โดยระงับ ๑.
         ในศีล ๕ ประการนี้   ปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นไฉน  ปริยันต-
ปาริสุทธิศีลนี้   ของอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทมีที่สุด.
         อปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นไฉน  อปริยันตปาริสุทธิศีลนี้   ของ
อุปสัมบันผู้มีสิกขาบทไม่มีที่สุด.
        ปริปุณณปาริสุทธิศีลเป็นไฉน  ปริปุณณปาริสุทธิศีลนี้    ของ
กัลยาณปุถุชนผู้ประกอบในกุศลธรรม   ผู้กระทำให้บริบูรณ์ในธรรมอัน
เป็นที่สุดของพระอเสขะ   ผู้ไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต      ผู้สละชีวิต
แล้ว
        อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลเป็นไฉน อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลนี้    ของ
พระเสขะ ๗ จำพวก.