๕๔๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๔๗
นุปัสนา ... อายุหนะด้วยวยานุปัสนา... ธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสนา
...นิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา...ปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา...อภินิเวส
ด้วยสุญญตานุปัสนา...สาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสนา...
สัมโมหาภินิเวสด้วยถาภูตญาณทัศนะ... อาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัส-
นา...อัปปฏิสังขาด้วยปฏิสังขานุปัสนา... สังโยคาภินิเวศด้วยวิวัฏฏนานุ-
ปัสนา...กิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค...กิเลส
หยาบ ๆ ด้วยสกทาคามิมรรค  กิเลสละเอียดด้วยอนาคามิมรรค  ชื่อว่าศีล
เพราะอรรถว่าสำรวม  และไม่ก้าวล่วงกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค.
           [ ๙๐ ]ศีล ๕   คือ   การละปาณาติบาตเป็นศีล   เวรมณี   การ
งดเว้นเป็นศีล   เจตนาเป็นศีล   สังวรเป็นศีล     การไม่ล่วงเป็นศีล  ศีล
เห็นปานนี้     ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิต    เพื่อความปรา-
โมทย์   เพื่อปีติ   เพื่อปัสสัทธิ    เพื่อโสมนัส     เพื่อการเสพโดยเอื้อเฟื้อ
เพื่อความเจริญ   เพื่อทำให้มาก  เพื่อเป็นเครื่องประดับ  เพื่อเป็นบริขาร
เพื่อเป็นบริวาร    เพื่อความบริบูรณ์      ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ  เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้  เพื่อนิพพาน   โดยส่วนเดียว.
          บรรดาศีลเห็นปานนี้   สังวรปาริสุทธิ   ความบริสุทธิ์ด้วยความ
สำรวมเป็นอธิศีล  จิตตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม  ย่อมไม่ถึง
ความฟุ้งซ่าน   อวิกเขปปาริสุทธิ   ความบริสุทธิ์คือความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นอธิจิต     พระโยคาวจรย่อมเห็นสังวรปาริสุทธิโดยชอบ    ย่อมเห็น
อวิกเขปปาริสุทธิโดยชอบ   ทัสนปาริสุทธิความบริสุทธิ์แห่งทัสนะ.  เป็น
อธิปัญญา.
         ในความสำรวม  ความไม่ฟุ้งซ่านและทัสนะนั้น   ความสำรวม
เป็นอธิศีลสิกขา  ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอธิจิตสิกขา  ความเห็นแจ้ง  เป็น
อธิปัญญาสิกขา   พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้   ชื่อว่าย่อมศึกษา
เมื่อรู้  เมื่อเห็น    เมื่อพิจารณา   เมื่ออธิฏฐานจิต    เมื่อน้อมใจไปด้วย
ศรัทธา   เมื่อประคองความเพียรไว้   เมื่อตั้งสติมั่น   เมื่อตั้งจิตไว้   เมื่อ
รู้ชัดด้วยปัญญา     เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง      เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้   เมื่อละธรรมที่ควรละ   เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ    เมื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง   ชื่อว่าย่อมศึกษา   ทุกอย่าง.
           [๙๑]ศีล ๕   คือ   การละปาณาติบาต   อทินนาทาน   กาเม-
สุมิจฉาจาร   มุสาวาท   ปิสุณาวาจา  ผรุสวาจา   สัมผัปปลาปะ   อภิชฌา
พยาบาท   มิจฉาทิฏฐิ   การละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ    การละความ
พยาบาทด้วยความไม่พยาบาท  การละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา   การ
ละอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน      การละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม
การละอวิชชาด้วยญาณ    การละอรติด้วยความปราโมทย์   การละนิวรณ์
ด้วยปฐมฌาน   การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน   การละปีติด้วยตติยฌาน
การละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน  การละรูปสัญญา,  ปฏิฆสัญญา,  นา-
นัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ     การละอากาสานัญยายตน-