๕๔๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๔๙
สัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ      การละวิญญาณัญจายตนสัญญา
ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ     การละอากิญจัญจญยตนสัญญาด้วยเนว-
สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ    การละนิจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา   การ
ละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสนา       การละอัตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา
การละนันทิด้วยนิพพิทานุปัสนา  การละราคะด้วยวิราคานุปัสนา    การ
ละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสนา     การละอาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา
การละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสนา  การละอายุหนะด้วยวยานุปัสนา  การ
ละธุวสัญญาด้วยวิปริณาตานุปัสนา     การละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา
การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา การละอภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสนา
การละสาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา    การละสัมโมหา
ภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ  การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสนา
การละอัปปฏิสังขาดัวยปฏิสังขานุปัสสนา         การละสังโยคาภินิเวสด้วย
วิวัฏฏนานุปัสนา  การละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค
การละกิเลสที่หยาบ ๆ   ด้วยสกทาคามิมรรค   การละกิเลสที่ละเอียดด้วย
อนาคามิมรรค   การละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค   การละนั้น ๆ  เป็น
ศีล    เวรมณีเป็นศีล . . .เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง    ชื่อว่า
ย่อมศึกษา.
           ชื่อว่าญาณ   เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ๆ   ชื่อว่าปัญญา    เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด   เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า  ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว
สำรวมไว้เป็นสีลมยญาณ.
๒   อรรถกถาสีลมยญาณนิทเทส
          ๘๖]พึงทราบวินิจฉัยในสีลมยญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.  บทว่า
ปญฺจ    คือการกำหนดจำนวน.  บทว่า   สีลานิ   เป็นการแสดงธรรมที่
กำหนดไว้.  บทมีอาทิว่า  ปริยนฺตปาริสทฺธิสีลํ - ศีลคือความบริสุทธิ์มี
ส่วนสุด  ได้แก่  แสดงศีล  ๕  โดยสรุป.
           พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า   ปริยนฺตปาริสุทฺธิ    ดังต่อไปนี้
ความบริสุทธิ์ชื่อว่า    ปริยันตะ    เพราะความบริสุทธิ์มีส่วนสุด    คือมี
กำหนดด้วยการนับเหมือนผ้า  เพราะย้อมด้วยสีเขียว  จึงเรียกว่า  นีลํ
เพราะมีสีเขียว,     อีกอย่างหนึ่ง      เมื่อศีลสมบูรณ์แล้ว     ความบริสุทธิ์
ชื่อว่า    ปริยันตะ   เพราะมีที่สุดคืออวสาน   เพราะผู้มีศีลยังไม่สมบูรณ์
ปรากฏอวสานแล้ว.
           อีกอย่างหนึ่งควรกล่าวว่า   สปริยนฺตา   พึงทราบว่าท่านลบ  
อักษรเสีย   ดุจลบ   อุ   อักษรในบทนี้ว่า   ทกํ  ทกาสยา   ปวิสนฺติ๑-
กระแสน้ำย่อมไหลไปสู่แม่น้ำ.   ความบริสุทธิ์ชื่อว่า  ปาริสุทธิ,  ความ
บริสุทธิ์นั้นมีส่วน      จึงชื่อว่า   ปรยันตปาริสุทธิ,  ศีล คือ ปริยันต-
ปาริสุทธิ  ชื่อ  ปริยันตปาริสุทธิศีล.
๑. สํ. ขนฺธ. ๑๗/๑๕๕.