โดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว ความบริสุทธิ์ไม่มีส่วนสุด ชื่อว่า |
อปริยันตะ, ชื่อว่า อปริยันตะ เพราะส่วนสุดของความบริสุทธิ์นั้น |
ไม่มีบ้าง, ส่วนสุดของความบริสุทธิ์นั้นเจริญแล้วบ้าง. |
ชื่อว่า ปริปุณฺณา - เต็มรอบ ด้วยอรรถว่าไม่หย่อนเป็นปทัฏฐาน |
แห่งอริยมรรค เพราะไม่ขาดจำเดิมแต่สมาทาน เพราะแม้ขาดก็ทำคืนได้ |
และเพราะเว้นจากมลทินแม้เพียงจิตตุปบาท. และเพราะบริสุทธิ์ดุจแก้ว |
มณีอันบริสุทธิ์ และดุจทองคำที่ขัดเป็นอย่างดี ฉะนั้น. |
ชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะไว้ด้วยทิฏฐิ เพราะทิฏฐิไม่จับต้อง, |
อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะโจทก์ไม่สามารถจะกล่าวหา |
ได้ว่า นี้เป็นโทษในเพราะศีลของท่าน ชื่อว่า ปฏิปปัสสัทธิ เพราะ |
สงบความกระวนกระวายทั้งปวง ในขณะอรหัตผล. |
บทว่า อนุปฺปสมฺปนฺนานํ. ชื่อว่า อุปสัมปันนา เพราะถึง |
พร้อมแล้วเป็นอันมากด้วยศีลสัมปทา โดยที่สมาทานไม่มีส่วนเหลือ. |
ไม่ใช่อุปสัมบัน จึงชื่อว่า อนุปสัมบัน. ของอนุปสัมบันเหล่านั้น. ใน |
บทว่า ปริยนฺตสิกฺขาปทานํ - ผู้มีสิกขาบทมีที่สุดนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ |
ชื่อว่า สิกฺขา ด้วยอรรถว่าควรศึกษา. ชื่อว่า ปทานิ ด้วยอรรถว่า |
ส่วน, อธิบายว่า ส่วนที่ควรศึกษา. อีกอย่างหนึ่ง กุศลธรรมทั้งหมด |
ชื่อว่า สิกฺขา เพราะควรปฏิบัติให้ยิ่งด้วยการตั้งอยู่ในศีล, ศีลทั้งหลาย |
ชื่อว่า ปทานิ ด้วยอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งสิกขาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น |