๕๕๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๕๓
                  เอเต  สํวรวินยา            สมฺพุทฺเธน  ปกาสิตา
                  เปยฺยาลมุเขน  นิทฺทิทิฏฺ€า  สิกฺขา  วินยสํวเร.
                           พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศสังวร-
             วินัยเหล่านี้ไว้      เก้าพันแปดร้อยโกฏิและห้าล้าน
             สามสิบหกโกฏิ   กับอื่น ๆ อีก     ทรงชี้แจงสิกขา
             ในสังวรวินัยด้วยหัวข้อไปยาล.
             ชื่อว่า   อปริยนฺตานิ - ไม่มีที่สุด    เพราะสิกขาบทเหล่านั้นไม่มี
ที่สุด       ด้วยการสมาทานสิกขาบทแม้มีที่สุดไม่มีเหลือด้วยการคำนวณ
อย่างนี้    ด้วยความมีที่สุดที่ยังไม่เห็นเพราะเหตุลาภ   ยศ   ญาติ  อวัยวะ
และชีวิต และด้วยความไม่มีกำหนดศีลที่ควรรักษาต่อไปข้างหน้า,   ชื่อว่า
อปริยนฺตสิกฺขาปทา - สิกขาบทไม่มีที่สุด  เพราะอนุปสัมบันมีสิกขาบท
ไม่มีที่สุด    แห่งอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทไม่มีที่สุดเหล่านั้น   อีกอย่างหนึ่ง
อธิบายว่า    วุทฺธปริยนฺตสิกฺขาปทานํ - แห่งอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทมี
ที่สุดเจริญแล้ว.
          พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า  ปุถุชฺชนกลฺยาณกานํ   ดังต่อ
ไปนี้    ท่านกล่าวว่า
                       ปุถนํ   ชนนาทีหิ       การเณหิ  ปุถุชฺชโน
                       ปุถุชฺชนนฺโตคธตฺตา     ปุถุวายํ   ชโนอิติ.
                  ชื่อว่า  ปุถุชน  ด้วยเหตุมีกิเลสหนาเกิดขึ้น
              เป็นต้น,  เพราะกิเลสหนาหยั่งลงภายในของปุถุชน
              ฉะนั้น  ชนนี้จึงเป็นผู้มีกิเลสหนา.
แม้ในการก้าวลงสู่ฌานอันเป็นลักษณะของปุถุชนดังกล่าวแล้ว   ท่านก็
กล่าวว่า
             ทุเว  ปุถุชฺชน   วุตฺตา    พทฺเธนฺทิจฺจพนฺธุนา
             อนฺโธ  ปุถุชฺชโน  เอโก    กลฺยาเณโก  ปุถุชฺชโน.
                         พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์
             ตรัสถึงปุถุชนไว้ ๒ ประเภท คือ  อันธปุถุชน - ปุถุ-
             ชนคนโง่เขลา   และกัลยาณปุถุชน - ปุถุชนคนดี.
             ในปุถุชนสองประเภทดังกล่าวแล้ว    ท่านอธิบายไว้ว่า   ศีลของ
กัลยาณปุถุชน     ผู้เป็นปุถุขนมีกัลยาณธรรมตั้งอยู่ในความเป็นกัลยาณ
ปุถุชน      ล่วงเลยความเป็นอันธปุถุชนด้วยการประพฤติกัลยาณรรรม
อีกอย่างหนึ่ง  ผู้มีกัลยาณธรรมในหมู่ปุถุชน  ชื่อว่า  ปุถุชฺชนกลฺยาณ
กานํ.
             กุสล  ศัพท์ในบทนี้ว่า  กุสลธมฺเม  ยุตฺตานํ  ย่อมปรากฏใน
ความไม่มีโรค  ความไม่มีโทษ  ความฉลาด  และผลของความสุข.  กุสล
ศัพท์  ปรากฏในความไม่มีโรค  ในบทมีอาทิว่า   กจฺจิ  นุ  โภโคภุสลํ,