๕๕๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๕๕
กจฺจิ  โภโต  อนามยํ - ท่านผู้เจริญสบายดีหรือ,    มีอนามัยดีหรือ.
ปรากฏในความไม่มีโทษ  ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า   กตโม  ปน  ภนฺเต
กายสมาจาโร  กุสโล, โย  โข  มหาราช  กายสมาจาโร อนวชฺโช-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญกายสมาจาร  เป็นกุศล เป็นไฉน ? มหาราช   กายสมาจาร
ที่ไม่มีโทษ  เป็นกายสมาจารเป็นกุศล  และในบทมีอาทิว่า  ปุน  จปรํ
ภนฺเต   เอตทานุตฺตริยํ   ยถา  ภควา  ธมฺมํ  เทเสติ   กุสเลสุ
ธมฺเมสุ-  ข้าแต่ท่านผู้เจริญยังมีข้ออื่นอีก   ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงธรรมในกุศลธรรมทั้งหลาย  นั้นเป็นธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.
ปรากฏในความฉลาด  ในบทมีอาทิว่า  กุสโล  ตฺวํ  รถสฺส องฺคปจฺจงฺ-
คานํ- ท่านเป็นผู้ฉลาดในส่วนใหญ่น้อยของรถ,   และหญิงคล่องแคล่ว
มีกุศล คือ ความฉลาดการฟ้อนรำขับร้องที่ศึกษาแล้ว.   ปรากฏในวิบาก
ของความสุขในประโยคมีอาทิว่า   กุสลานํ  ภิกฺขเว  ธมฺมานํ  สมาทาน
เหตุ. กุสลสฺส  กมฺมสฺส  กตตฺตา อุปจิตตฺตา - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะกุศลธรรมที่ท่านทำแล้ว     สะสมแล้ว     เพราะเหตุสมาทานกุศล
กรรม.  กุสล  ศัพท์ ในที่นี้สมควร  ในความไม่มีโรคบ้าง    ในความ
ไม่มีโทษบ้าง  ในวิบากของสุขบ้าง.
//๑.ขุ. ชา. ๒๗/๒๑๓๓.   ๒.ม. ม. ๑๓/๕๕๔.  ๓.ที. ปา. ๑๑/๗๕.
๔. ม. ม. ๑๓/๙๕. ๕. ขุ. ชา. ๒๘/๔๓๖. ๖. ที. ปา. ๑๑/๓๓.
๗. อภิ. สงฺ. ๓๔/๓๓๘.
         ส่วนอธิบายคำใน กุสล  ศัพท์  มีดังต่อไปนี้   กุจฺฉิเต  ปาปเก
ธมฺเม  สลยนฺติ  จลยนฺติ  กมฺเปนฺติ  วิทฺธํเสนฺตีติ กุสลา - ชื่อว่า
กุศล   เพราะอรรถว่าทำลาย   ทำให้ไหว   ทำให้หวั่นไหว  กำจัดธรรม
อันลามกน่าเกลียด.
           อีกอย่างหนึ่ง   ชื่อว่า  กุสา   เพราะอรรถว่าย่อมอยู่   คือ   ย่อม
เป็นไปโดยอาการอันน่าเกลียด,    ชื่อว่า   กุศล     เพราะอรรถว่าทำลาย
คือ  ตัดอาการน่าเกลียดเหล่านั้น,   อีกอย่างหนึ่ง   ชื่อว่า  กุสะ  เพราะ
ทำให้เบาบาง  โดยทำให้สิ้นสุดซึ่งอาการน่าเกลียดทั้งหลาย  ได้แก่  ญาณ.
ชื่อว่า  กุศล    เพราะอรรถว่าควรทำลาย   ควรถือเอา   ควรให้เป็นไป
ด้วยกุสญาณนั้น,   อีกอย่างหนึ่งเหมือนอย่างว่า  หญ้าคาย่อมบาดมือที่ถึง
ส่วนทั้งสอง   ฉันใด,  แม้กุศลธรรมเหล่านี้ก็ย่อมตัดฝ่ายเศร้าหมองที่ถึง
ส่วนทั้งสอง   โดยความที่เกิดแล้วและยังไม่เกิด   ฉันนั้น,   เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า   กุศล    เพราะอรรถว่า  ย่อมตัดดุจหญ้าคา   ฉะนั้น.
          อีกอย่างหนึ่ง   ชื่อว่า  กุศล    ด้วยอรรถว่าไม่มีโรค   ด้วยอรรถ
ว่าไม่มีโทษ   หรือด้วยอรรถว่าเกิดเพราะความเป็นผู้ฉลาด      แต่ในที่นี้
เพราะท่านประสงค์เอาวิปัสสนากุศลเท่านั้น,   ฉะนั้น    เพื่อละธรรมที่
เหลือ   แล้วแสดงวิปัสสนากุศลเท่านั้น    พึงทราบว่า    ท่านจึงทำเป็น
เอกวจนะในบทว่า   กุสลธมฺเม-ในกุศลธรรม.   อธิบายว่า   ประกอบ