แล้วในกุศลธรรมคือวิปัสสนา เพราะทำติดต่อกัน และเพราะทำด้วย |
ความเคารพ. |
ในบทนี้ว่า เสกฺขปริยนฺเต ปริปูรการีนํ - ผู้กระทำให้บริบูรณ์ |
ในธรรมอันเป็นที่สุดของพระเสกขะ มีความดังต่อไปนี้, ชื่อว่า เสกฺขา |
เพราะเกิดในสิกขา ๓ บ้าง, เพราะธรรมเหล่านี้ของพระเสกขะ ๗ จำพวก |
บ้าง, เพราะพระเสกขะทั้งหลายย่อมศึกษาด้วยตนเองบ้าง. ได้แก่ ธรรม |
คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล |
อนาคามิมรรค อนาคามิผล และอรหัตมรรค. ชื่อว่า เสกฺขปริยนฺโต |
เพราะอรรถว่ามีเสกขธรรมในที่สุด คือในอวสาน, หรือมีเสกขธรรม |
อันเป็นที่สุด คือมีกำหนด. พึงเชื่อมความว่า ในธรรมอันเป็นที่สุด |
ของพระเสกขะนั้น. |
ชื่อว่า ปริปูรการิโน เพราะอรรถว่ากัลยาณปุถุชน ย่อมทำ |
กุศลธรรมให้เต็มรอบ คือให้บริบูรณ์. หรือกัลยาณปุถุชนมีการบริบูรณ์ |
เต็มรอบ คือทำให้บริบูรณ์, ของกัลยาณปุถุชนเหล่านั้นผู้ทำให้บริบูรณ์ |
ในปฏิปทาธรรมอันเป็นที่สุดของพระเสกขะ อันเป็นส่วนเบื้องต้นของ |
โสดาปัตติมรรค ด้วยความบริบูรณ์แห่งวิปัสสนา. |
ในบทนี้ว่า กาเย จ ชีวิเต จ อนเปกฺขนํ - ผู้ไม่อาลัยใน |
ร่างกายและชีวิต มีความดังต่อไปนี้ บทว่า กาเย คือสรีระ จริงอยู่ |
สรีระ ท่านกล่าวว่า กาย เพราะเป็นที่สะสมความไม่สะอาดของร่างกาย |