๕๕๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๕๙
ในอรหัตผลเท่านั้น  จึงกล่าวว่า   ขีณาสวานํ  ดังนี้,  อธิบายว่า  พระ-
ขีณาสพผู้สิ้นอาสวะทั้งปวง  ด้วยอรหัตมรรคญาณ.
            บทว่า  ปจฺเจกพุทฺธานํ  ชื่อว่า  ปัจเจกพุทธะ  เพราะอรรถว่า
เป็นผู้เดียวเท่านั้น  ไม่มีอาจารย์ อาศัยเหตุนั้น ๆ  ตรัสรู้อริยสัจ  ๔. ของ
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเช่นนั้น.
            ในบทนี้ว่า  ตถาคตานํ   มีความดังต่อไปนี้   พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า    ตถาคตด้วยเหตุ ๘ ประการ.    พระนามว่า  ตถาคโต
เพราะอรรถว่าเสด็จมาแล้วเหมือนอย่างนั้น,     เสด็จไปแล้วเหมือนอย่าง
นั้น,   ตรัสรู้ลักษณะที่เป็นของจริงแท้,   ตรัสรู้ธรรมที่จริงแท้โดยความ
เป็นจริง,    เพราะทรงแสดงสิ่งที่จริงแท้,   เพราะทรงกล่าวแต่ความจริง
แท้,  เพราะเป็นผู้กระทำเหมือนอย่างนั้น,  เพราะอรรถว่าครอบงำ.
            พระผู้มีพระภาคเจ้า     พระนามว่า   ตถาคต    เพราะอรรถว่า
เสด็จมาแล้วเหมือนอย่างนั้น  เป็นอย่างไร ?  เหมือนพระสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย     แต่ก่อน   ผู้ถึงความขวนขวายเสด็จมาแล้วเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลแก่โลกทั้งมวล.   ท่านอธิบายไว้อย่างไร  ?  อธิบายไว้ว่า  พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทั้งหลาย  แต่ก่อนเสด็จมาแล้วด้วยอภินิหารใด,   แม้พระผู้มี-
พระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เสด็จมาแล้ว   โดยอภินิหารนั้นเหมือนกัน.
           อีกอย่างหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ก่อนทรงบำเพ็ญบารมี  ๓๐
ถ้วน  คือ  บารมี  ๑๐  อุปบารมี  ๑๐  ปรมัตถบารมี ๑๐ ได้แก่  ทาน
ศีล  เนกขัมมะ  ปัญญา  วีริยะ  ขันติ  สัจจะ  อธิฏฐานะ  เมตตา
อุเบกขา,  ทรงบริจาคมหาบริจาค  ๕  เหล่านี้  คือ  บริจาค  อวัยวะ ๑
นัยน์ตา ๑ ทรัพย์  ๑  ราชสมบัติ  ๑  บุตรภรรยา  ๑,  ทรงบำเพ็ญ
ญาตัตถจริยาด้วยการทรงบอกธรรมอันควรประกอบในเบื้องต้น  และ
ควรประพฤติในเบื้องต้น  แล้วถึงที่สุดแห่งพุทธจริยาเสด็จมาแล้ว,  แม้
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เสด็จทรงบำเพ็ญมาแล้วเหมือน
อย่างนั้น.
           อนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ก่อนทรงเจริญ  เพิ่มพูนสติปัฏฐาน  ๔
สัมมัปธาน  ๔  อิทธิบาท  ๔  อินทรีย์ ๕  พละ  ๕  โพชฌงค์  ๗
อริยมรรคมีองค์  ๘  ฉันใด,  แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็
เสด็จมาแล้ว  ฉันนั้น  เพราะเหตุนั้น  จึงทรงพระนามว่า  ตถาคโต.
บัณฑิตกล่าวว่า
                         ยเถว  ทีปงฺกรพุทฺธอาทโย
                         สพฺพญฺญุภาวํ  มุนโย  อิธาคตา.
                         ตถา  อยํ  สกฺยมุนีปิ  อาคโต
                         ตถาคโต  วุจฺจติ  เตน  จกฺขุมา.