๕๖๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๖๓
การเสด็จดำเนินของพระโพธิสัตว์นั้นได้เป็นความจริงแท้แน่นอน  ด้วย
ความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุธรรมวิเศษเหล่านี้นั่นแล.   ด้วยเหตุ
นั่น   พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า
                            มุหุตฺตชาโตว ควมฺปตี ยถา
                      สเมหิ  ปาเทหิ  ผุสี  วสุนฺธรํ,
                      โส  วิกฺกมิ  สตฺต  ปาทานิ  โคตโม
                      เสตญฺจ  ฉตฺตํ อนุธารยุํ  มรู.
                            คนฺตฺวาน  โส  สตฺต  ปทานิ  โคตโม
                      ทิสา  วิโลเกสิ  สมา  สมนฺตโต,
                      อฏฺ€งฺคุเปตํ   คิรมพฺภุทีรยิ
                      สีโห  ยถา  ปพฺพตมุทฺธนิฏฺ€ิโต.
                          พระควัมบดีประสูติได้ครู่เดียวเท่านั้น  ทรง
                สัมผัสแผ่นดินด้วยพระบาทเสมอกัน,    พระโพธิ-
                สัตว์เหล่ากอแต่งพระโคดมนั้น    ทรงย่างพระบาท
                ๗  ก้าว   และเหล่าเทพเจ้าพากันกั้นเศวตรฉัตร.
                              พระโคดมนั้นเสด็จดำเนินไป ๗ ก้าว ทรง
                เหลียวแลดูทิศอย่างสม่ำเสมอโดยรอบ,  ทรงเปล่ง
                พระวาจาประกอบด้วยองค์  ๘  ดุจสีหะยืนอยู่บน
                ยอดเขาบันลือสีหนาท  ฉะนั้น.
          ทรงพระนามว่า   ตถาคต    เพราะเสด็จไปแล้วเหมือนอย่างนั้น
ด้วยประการฉะนี้.
          อีกอย่างหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ก่อนฉันใด,    แม้พระผู้มี-
พระภาคเจ้านี้    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน     เสด็จไปแล้วเพื่อละกามฉันทะ
ด้วยเนกขัมมะ.  ฯลฯ  ละนิวรณ์   ด้วยปฐมฌาน  ฯลฯ  ละนิจสัญญา
ด้วยอนิจจานุปัสสนา ฯลฯ  ละกิเลสทั้งหมดด้วยหัตมรรค,  พระนาม
ว่า   ตถาคต  เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น   ด้วยประการฉะนี้.
           พระนามว่า    ตถาคโต   เพราะตรัสรู้ลักษณะที่จริงแท้    เป็น
อย่างไร ?  ลักษณะที่จริงแท้  คือ  ความเป็นของแข็ง  เป็นลักษณะแห่ง
ปฐวีธาตุ,  การไหลไป   เป็นลักษณะแห่ง  อาโปธาตุ,   ความเป็น
ของร้อน   เป็นลักษณะแห่ง    เตโชธาตุ,   การขยายตัวไปมา    เป็น
ลักษณะแห่ง   วาโยธาตุ  การสัมผัสไม่ได้เป็นลักษณะแห่ง  อากาศธาตุ,
การรู้แจ้งเป็นลักษณะแห่ง   วิญญาณธาตุ.
          การสลายไป   เป็นลักษณะแห่ง   รูป,  การเสวยอารมณ์  เป็น
ลักษณะแห่ง   เวทนา,   การรู้พร้อม  เป็นลักษณะแห่ง  สัญญา    การ
ปรุงแต่ง    เป็นลักษณะแห่ง    สังขาร,  การรู้แจ้ง    เป็นลักษณะแห่ง
วิญญาณ.
            การยกขึ้น    เป็นลักษณะแห่ง   วิตก,     การเคล้าคลึง    เป็น
ลักษณะแห่ง   วิจาร,   การซ่านไป   เป็นลักษณะแห่ง  ปีติ,     การยินดี