๕๖๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๖๗
สัมมัปธาน,  ความสำเร็จ    เป็นลักษณะแห่ง    อิทธิบาท,  ความ
เป็นใหญ่    เป็นลักษณะแห่ง   อินทรีย์,   ความไม่หวั่นไหว   เป็น
ลักษณะแห่ง   พละ,   ความนำออก   เป็นลักษณะแห่ง  โพชฌงค์,
เหตุ  เป็นลักษณะแห่ง  มรรค.
          ความจริงแท้   เป็นลักษณะแห่ง   สัจจะ   ความไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นลักษณะแห่ง  สมถะ, ความพิจารณาเห็นตาม  เป็นลักษณะแห่ง
วิปัสสนา,  เอกรส - ธรรมรสอันเลิศ  เป็นลักษณะแห่ง  สมถะและ
วิปัสสนา,   ความไม่เปลี่ยนแปลง  เป็นลักษณะแห่ง    ธรรมคู่กัน.
           สังวร  เป็นลักษณะแห่ง  สีลวิสุทธิ.
           ความไม่ฟุ้งซ่าน  เป็นลักษณะแห่ง  จิตตวิสุทธิ
           ความเห็น  เป็นลักษณะแห่ง  ทิฏฐิวิสุทธิ.
           ความตัดขาด เป็นลักษณะแห่ง  ญาณในความสิ้นไป,
           ความสงบ เป็นลักษณะแห่ง  ญาณในความไม่เกิด.
           มูละ  เป็นลักษณะแห่ง  ฉันทะ,  สมุฏฐานะ  เป็นลักษณะ
แห่ง  มนสิการะ,  สโมธานะ เป็นลักษณะแห่ง  ผัสสะ, สโมสรณะ
เป็นลักษณะแห่ง   เวทนา,  ปมุขะ    เป็นลักษณะแห่ง  สมาธิ,  อาธิป-
เตยยะ  เป็นลักษณะแห่ง   สติ, ตทุตตริ - ความรู้ยิ่งกว่านั้น  เป็น
ลักษณะแห่ง  ปัญญา,  สาระ  เป็นลักษณะแห่ง  วิมุตติ,  ปริโยสานะ
เป็นลักษณะแห่ง  นิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ,  นี้  คือ  ความจริงแท้
พระนามว่า  ตถาคโต  เพราะตรัสรู้ลักษณะที่จริงแท้นั้นด้วย  ญาณคติ
คือทรงบรรลุ  บรรลุถึงไม่ผิดพลาด,  ตรัสรู้ลักษณะที่จริงแท้ด้วย
ประการฉะนี้  จึงทรงพระนามว่า  ตถาคต.
        พระนามว่า  ตถาคโต  เพราะตรัสรู้ธรรมที่จริงแท้ตามความ
เป็นจริงนั้น  เป็นอย่างไร ? อริยสัจ  ๔  ชื่อว่า  ธรรมที่จริงแท้.  ดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
                    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อริยสัจ  ๔  อย่าง
        เหล่านี้  เป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน  ไม่เป็นอย่าง
        อื่น.  อริยสัจ ๔  เป็นไฉน ?  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
        อริยสัจว่า  นี้ทุกข์  นี้เหตุให้เกิดทุกข์  นี้ความดับ
        ทุกข์  นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์  เป็นของจริงแท้
        แน่นอน  ไม่เป็นอย่างอื่น  ดังนี้  พึงให้พิสดาร.
        อนึ่ง  เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจเหล่านั้น  บัณฑิต
จึงขนานพระนามว่า  ตถาคต  เพราะตรัสรู้สิ่งจริงแท้.  คต  ศัพท์
ในที่นี้มีเนื้อความว่าตรัสรู้.
        อนึ่ง  ความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น  มีความบ่งถึงความ
เป็นจริงว่า  ชาติ  เป็นปัจจัยของ  ชรา  และ  มรณะ  ฯลฯ  มีความ
บ่งถึงความเป็นจริงว่า  อวิชชา  เป็นปัจจัยของ  สังขาร ฯลฯ.
๑. สํ. มหา. ๑๙/๑๖๙๗.