๕๗๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๗๑
พาน     ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ     ในระหว่างต้นสาละคู่ในเวลา
กลางคืน,   และข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส    สุตตะ   เคยยะ   ฯลฯ
เวทัลละในปฐมโพธิกาลบบ้าง   ในมัชฌิมโพธิกาลบ้าง  ในปัจฉิมโพธิกาล
บ้าง  ในเวลาประมาณ  ๔๕  ปี  ในระหว่างนี้,   ทั้งหมดนั้น  ทั้งโดยอรรถ
ทั้งโดยพยัญชนะ   ไม่มีโทษ   ไม่ควรติเตียน  ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง  บริบูรณ์
ด้วยอาการทั้งปวง   ถอนความมัวเมา  ราคะ   โทสะ   โมหะ,  ไม่มีความ
ผิดพลาด   แม้เพียงปลายขนสัตว์ในคำสอนนั้น,   ทั้งหมดนั้นเป็นความ
จริงแท้  ดุจประทับด้วยดวงตราดวงเดียว,   ดุจตวงด้วยทะนานเดียว  และ
ดุจชั่งด้วยตราชั่งอันเดียว.   ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
                   ดูก่อนจุนทะ  ข้อที่ตถาคตตรัสรู้สัมมาสัม-
             โพธิญาณอันยอดเยี่ยม   ในเวลากลางคืน,    และ
             ข้อที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานใน
             เวลากลางคืน,      ข้อที่ตถาคตกล่าวชี้แจงแสดงใน
             ระหว่างนี้   ทั้งหมดนั้นเป็นความจริงแท้ทีเดียว,  ไม่
             เป็นอย่างอื่น  เพราะฉะนั้น   บัณฑิตจึงขนานพระ-
             นามว่า  ตถาคต.
             คต   ศัพท์ในบทนี้   มีอรรถว่าคำพูด   พระนามว่า   ตถาคต
เพราะตรัสอย่างนั้นด้วยประการฉะนี้.
๑. ที. ปา. ๑๑/๑๒๐.
        อีกอย่างหนึ่ง  คำพูด  ชื่อว่า  อาคท,  อธิบายว่า  การกล่าว.
คำกล่าวของพระตถาคตเป็นความจริงไม่เปลี่ยนแปลง   เพราะแผล    ท
เป็น   จึงเป็น   ตถาคโต   ฉะนั้น   พึงทราบสำเร็จในอรรถนี้
ด้วยประการฉะนี้.
           พระนามว่า    ตถาคโต    เพราะกระทำเหมือนอย่างนั้น    เป็น
อย่างไร ?  จริงอยู่  กายของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมคล้อยตามวาจา,  วาจา
ย่อมคล้อยตามกาย,   เพราะฉะนั้น    จึงมีว่า    พูดอย่างใด     ทำอย่างนั้น,
และทำอย่างใด  พูดอย่างนั้น.   อธิบายว่า  วาจาของพระผู้มีพระภาคนั้น
เป็นอย่างนี้   ฉันใด,   แม้กายก็เป็นไปฉันนั้น.     อนึ่ง     พระนามว่า
ตถาคโต    เพราะกายเป็นอย่างใด,    แม้วาจาก็เป็นไปอย่างนั้น.    ด้วย
เหตุนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ตถาคตพูดอย่างใด
         ทำอย่างนั้น,  ทำอย่างใด  พูดอย่างนั้น.   ด้วยเหตุ
         ที่ตถาคตพูดอย่างใด     ทำอย่างนั้น,      ทำอย่างใด
         พูดอย่างนั้น   บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า   ตถาคต.
         พระนามว่า   ตถาคต   เพราะทำอย่างนั้น   ด้วยประการฉะนี้.
         พระนามว่า  ตถาคโต  ด้วยอรรถว่าครอบงำนั้น   เป็นอย่างไร ?
พระตถาคตทรงทำที่สุด   เบื้องบนถึงภวัคคพรหม   เบื้องล่างถึงอเวจีแล้ว
๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๓.