๕๗๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๗๕
             โลก  ตถาคตตรัสรู้แล้ว,   ตถาคตทำให้เกิดปฏิปทา
             ให้ถึงความดับโลกแล้ว.
                     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เห็นด้วยจักษุ ฯลฯ
             ธรรมที่รู้ด้วยใจ   ของโลกพร้อมด้วยเทวโลกทั้งหมด
             นั้น   ตถาคตตรัสรู้แล้ว.  เพราะฉะนั้น   บัณฑิตจึง
             ขนานนามว่า   ตถาคต.
             พึงทราบความของคำนั้นแม้อย่างนี้.
             อนึ่ง  บทนี้ก็เป็นเพียงมุขในการแสดงความเป็นตถาคตของพระ-
ตถาคตนั่นเอง.   อนึ่ง  พระตถาคตท่านนั้น พึงพรรณนาความเป็นตถาคต
ของพระตถาคตได้โดยอาการทั้งปวง.     ก็เพราะพระพุทธเจ้าทั้งปวงเป็น
ผู้เหมาะสมแม้ด้วยคุณของพระตถาคต,   ฉะนั้นพระสารีบุตร   จึงกล่าวว่า
ตถาคตานํ   ด้วยสามารถของพระพุทธเจ้าทั้งหมด.
             บทว่า   อรหนฺตานํ    ความว่า  พระตถาคตเป็น   พระอรหันต์
เพราะทรงไกลจากกิเลสทั้งหลาย,   เพราะขจัดข้าศึกและซี่ล้อแห่งจัก
ทั้งหลาย.     เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น,    เพราะไม่มีความลับใน
การทำบาป.   จริงอยู่  พระตถาคตนั้นเป็นผู้ไกล   คือตั้งอยู่ไกลแสนไกล
๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๓.
จากกิเลสทั้งปวง    พระนามว่า   อรหํ   เพราะทรงละกิเลส  พร้อมด้วย
วาสนาด้วยมรรค   บัณฑิตกล่าวคำว่า   อรหํ  ไว้ ๕ นัย   นัยที่ ๑ ว่า
             โส  ตโต  อารกา   นาม    ยสฺส  เยนาสมงฺคิตา
             อสมงฺคี  จ  โทเสหิ         นาโถ  เตนารหํ  มโต.
                     พระตถาคตเจ้าผู้เป็นนาถะ     ไม่ถูกกิเลส
             กลุ้มรุม  และไม่ประกอบด้วยโทษ คือ วาสนาทั้ง-
             หลาย  ชื่อว่าทรงไกลจากกิเลส และโทษเหล่านั้น
             เพราะเหตุนั้น  บัณฑิตจึงกล่าวว่า   อรหํ  เป็นพระ-
             อรหันต์.
             อนึ่ง   พระตถาคตเจ้าทรงกำจัดข้าศึก    คือกิเลสเหล่านั้น  ด้วย
มรรค   เพราะเหตุนั้น   บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า   อรหํ   เพราะทรง
กำจัดข้าศึก   คือกิเลสทั้งหลายบ้าง.
             ยสฺม   ราคาทิสงฺขาตา      สพฺเพปิ   อรโย  หตา
             ปญฺญาสตฺเถน  นาเถน     ตสฺมาปิ  อรหํ  มโต.
                    เพราะพระนาถะ   ทรงกำจัดข้าศึก  คือ กิเลส
              มรรคเป็นต้น  แม้ทั้งหมดด้วยศัสตรา คือ  ปัญญา
              เพราะฉะนั้น  บัณฑิตจึงทราบว่า  อรหํ  เป็นพระ-
              อรหันต์.