๕๗๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๗๗
           อนึ่ง สังสารจักร -  ล้อ คือ สงสาร มีดุมสำเร็จด้วยอวิชชา และ
ภวตัณหา  มีเครื่องตกแต่ง คือ บุญเป็นต้น  เป็นซี่ล้อ  มีชราและมรณะ
เป็นกงเจาะสอดไว้ด้วยเพลา  คือ  เหตุเกิดอาสวะ    ประกอบในรถ   คือ
ภพ ๓ เป็นไปโดยกาลอันไม่มีเบื้องต้น,     พระตถาคตประดิษฐานบน
แผ่นดิน คือ ศีล  ด้วยพระบาท  คือ  วีริยะ ณ  โพธิมณฑล    ทรงถือขวาน
คือ ญาณ   กระทำกรรมให้สิ้นไปด้วยพระหัตถ์ คือ ศรัทธา    แล้วทรง
กำจัดซี่ล้อทั้งหมดแห่งสังขารจักรนั้น    เพราะเหตุนั้น   จึงทรงพระนาม
ว่า   อรหํ  เป็น พระอรหันต์ เพราะกำจัดซี่ล้อทั้งหลายนี้เป็นนัยที่  ๒.
บัณฑิตกล่าวนัยที่ ๓ ว่า
           อรา  สํสารจกฺกสฺส   หตา  าณาสินา  ยโต
           โลกนาเถน  เตเนส   อรหนฺติ  ปวุจฺจติ.
                  เพราะพระโลกนาถทรงกำจัดซี่ล้อแห่งสังสาร-
           จักรด้วยดาบ คือ ญาณ,  เพราะเหตุนั้น พระโลก-
           นาถนั้น  บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า   อรหํ  เป็น
           พระอรหันต์.
            อนึ่ง  พระตถาคต   เพราะเป็นผู้ควรของทำบุญอย่างเลิศ  จึงควร
รับปัจจัยมีจีวรเป็นต้น  และการบูชาวิเศษ.   ก็ด้วยเหตุนั้นแล  เมื่อพระ-
ตถาคตอุบัติแล้ว    เทวดาและมนุษย์ผู้มีมีศักดิ์ใหญ่พวกใดพวกหนึ่ง    จะ
ไม่ทำการบูชาในที่อื่นเลย.   เป็นความจริงดังนั้น   สหัมบดีพรหม ย่อม
บูชาพระตถาคตด้วยพวงแก้ว   ประมาณเท่าภูเขาสิเนรุ.  เทวดาเหล่าอื่น
และมนุษย์ทั้งหลาย    มีพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าโกศลเป็นต้น  ย่อม
บูชาตามกำลัง.
           อนึ่ง  พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสละทรัพย์ ๙๖ โกฏิ อุทิศพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จปรินิพพานแล้ว   และสร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง
ไว้ในชมพูทวีปทั้งสิ้น.   จะพูดไปทำไมถึงการบูชาวิเศษอย่างอื่น.  เพราะ
เหตุนั้น  พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า  อรหํ เป็นพระอรหันต์   เพราะ
สมควรแก่ปัจจัยเป็นต้น. บัณฑิตกล่าวนัยที่  ๔ ว่า
                 ปูชาวิเสสํ  สห   ปจฺจเยหิ
                 ยสฺมา   อยํ  อรหติ  โลกนาโถ,
                 อตฺถานุรูปํ   อรหนฺติ  โลเก
                 ตสฺมา  ชิโน  อรหติ  นามเมตํ.
                 เพราพระโลกนาถนี้      สมควรรับการบูชา
          วิเศษพร้อมด้วยปัจจัยทั้งหลาย,    ฉะนั้นพระชินะ
          จึงสมควรทรงพระนามว่า   อรหํ   เป็นพระอรหันต์
          อันเหมาะสมแก่อรรถะ.