๕๗๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๗๙
            อนึ่ง   พระตถาคตนั้นไม่ว่าในกาลไหนๆ ไม่ทรงทำเหมือนอย่าง
ที่คนพาลทั้งหลายพวกใดพวกหนึ่ง  สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ทำบาปใน
ที่ลับด้วยเกรงว่าจะไม่ได้รับการสรรเสริญ   เพราะเหตุนั้น   พระตถาคต
จึงเป็นพระอรหันต์  เพราะไม่มีความลับในการทำบาป.    บัณฑิตกล่าว
นัยที่  ๕ ว่า
            ยสฺมา  นตฺถิ   รโห       นามปาปกมฺเมสุ  ตาทิโน
            รหาภาเวน  เตเนส        อรหํ  อิติ  วิสฺสุโต.
                    ขึ้นชื่อว่าความลับในบาปกรรมมิได้มีแก่พระ-
            ตถาคตผู้มั่นคง      เพราะเหตุนั้น  พระตถาคตนั้น
            จึงปรากฏพระนามว่า  อรหํ  เป็นพระอรหันต์  เพราะ
            ไม่มีความลับ.
            ท่านกล่าวสรุปความทั้งหมดไว้อย่างนี้ว่า
            อารกตฺตา  หตตฺตา  จ      กิเลสารีน โส  มุนิ
            หตสํสารจกฺกาโร             ปจฺจยาทีน  จารโห,
            น  รโห  กโรติ  ป ปานิ      อรหํ  เตน  วุจฺจติ.
                  พระมุนีนั้น  เพราะทรงเป็นผู้ไกลจากกิเลส  ๑
            เพราะกำจัดข้าศึก  คือกิเลส ๑  เพราะหักซี่ล้อ คือ
            สังสารจักร  ๑   ทรงสมควรแก่ปัจจัยเป็นต้น  ๑
        เพราะไม่ทรงทำบาปในที่ลับ  ๑  เพราะเหตุนั้น
        บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า  อรหํ  เป็นพระอรหันต์.
        ก็เพราะพระพุทธเจ้าทั้งปวง  เป็นผู้เหมาะสม  แม้ด้วยคุณของ
พระอรหันต์  ฉะนั้น  พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า  อรหนฺตานํ  ด้วยสามารถ
แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง.
        บทว่า  สมฺมาสมฺพุทฺธานํ  ความว่า  ชื่อว่า  สมฺมาสมฺพุทฺโธ
เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง.  เป็นความจริง
อย่างนั้น  พระสัมมาสัมพุทธะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบด้วยพระองค์
เอง  คือที่ทรงพระนามว่า  พุทธะ  เพราะทรงรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้,  เพราะ
ทรงกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้,  เพราะทรงละธรรมที่ควรละ, เพราะ
ทรงทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง,  เพราะเจริญธรรมที่ควรเจริญ.
ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
        อภิญฺเยฺยํ  อภิญฺาตํ     ภาเวตพฺพญฺจ  ภาวิตํ
        ปาหาตพฺพํ  ปหีนํ  เม       ตสฺมา  พุทฺโธสฺมิ  พฺราหฺมณ.
              ดูก่อนพราหมณ์  สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง  เราได้รู้ยิ่งแล้ว
        สิ่งที่ควรเจริญ  เราได้เจริญแล้ว  และสิ่งที่ควรละ
        เราได้ละแล้ว,  เพราะฉะนั้น  เราจึงเป็น  พุทธะ.
๑. ม. ม. ๑๓/๖๐๙.