อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง |
โดยชอบ และด้วยพระองค์เอง แม้ด้วยการยกบทหนึ่ง ๆ ขี้นอย่างนี้ว่า |
จักษุ เป็น ทุกขสัจจะ, ปุริมตัณหาอันทำจักษุนั้นให้เกิดขึ้นโดยเป็น |
เหตุ เป็น สมุทยสัจจะ, ความที่ทุกขสัจจะและสมุทยสัจจะทั้ง ๒ |
เป็นไปไม่ได้ เป็น นิโรธสัจจะ, ปฏิปทาอันรู้ทั่วถึงการดับ เป็น |
มรรคสัจจะ. ในโสตะ ฆานะ ชิวหา และกาย ก็มีนัยนี้. |
โดยนัยนี้แล พึงประกอบอายตนะ ๖ มีรูปเป็นต้น, กองวิญ- |
ฌาณ ๖ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น, ผัสสะ ๖ มีจักขุสัมผัสสะเป็นต้น, เวทนา |
๖ มีจักขุสัมผัสสขาเวทนาเป็นต้น, สัญญา ๖ มีรูปสัญญาเป็นต้น, |
เจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น, กองตัณหา ๖ มีรูปตัณหาเป็นต้น, |
วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น, วิจาร ๖ มีรูปวิจารเป็นต้น, ขันธ์ ๕ มีรูป- |
ขันธ์เป็นต้น. กสิณ ๑๐, อนุสติ ๑๐, สัญญา ๑๐ ด้วยสามารถ |
อุทธุมาตกสัญญา - ความสำคัญศพที่ขึ้นอืดเป็นต้น, อาการ ๓๒ มีผม |
เป็นต้น, อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘, ภพ ๙ มีกามภพเป็นต้น, ฌาน ๔ |
มีปฐมฌานเป็นต้น, อัปปมัญญา ๔ มีเมตตาภาวนาเป็นต้น, อรูปสมาบัติ |
๔, และองค์ปฏิจจสมุปบาทมีชรามรณะเป็นต้น โดยปฏิโลม, มีอวิชชา |
เป็นต้น โดยอนุโลมเข้าด้วยกัน. |
พึงทราบการประกอบบท ๆ หนึ่งดังต่อไปนี้ พระสัมมาสัมพุทธ- |
เจ้าตรัสรู้ ตรัสรู้ยิ่ง แทงตลอดธรรมทั้งปวงโดยชอบด้วยพระองค์เอง |
|
ด้วยการยกบทหนึ่ง ๆ ขึ้นอย่างนี้ว่า ชรามรณะเป็น ทุกขสัจจะ, ชาติ |
เป็น สมุทยสัจจะ, การออกไปทั้งสองอย่างนั้นเป็น นิโรธสัจจะ, |
ปฏิปทาอันรู้ทั่วถึงการดับเป็น มรรคสัจจะ. |
ยังมีสิ่งที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่งอีก, พระสัมมาสัมพุทธ- |
เจ้า พระนามว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ เพราะตรัสรู้สิ่งทั้งปวงโดยชอบด้วย |
พระองค์เอง ด้วย วิโมกขันติกญาณ - ญาณอันเป็นที่สุดแห่งความ |
หลุดพ้น. วิภาคญาณของสัมมาสัมพุทธะนั้นจักมีแจ้งข้างหน้า. ก็เพราะ |
พระพุทธเจ้าทั้งปวงเหมาะสม แม้ด้วยคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า |
ฉะนั้นพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า สมฺมาสมฺพุทฺธานํ ด้วยสามารถแห่ง |
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. |
๘๗ - ๘๘] บัดนี้ เพื่อแยกแสดงศีลอย่างหนึ่ง ๆ ออกเป็น ๕ |
ส่วนในศีล ๒ หมวด คือ ปริยันตปาริสุทธิศีล - ศีลบริสุทธิ์มีที่สุด ๑ |
อปริยันตปาริสุทธิศีล - ศีลบริสุทธิ์ไม่มีที่สุด ๑ พระสารีบุตรจึงกล่าว |
บทมีอาทิว่า อตฺถิ สีลํ ปริยนฺตํ, อตฺถิ สีลํ อปริยนฺตํ ศีลมีที่ |
สุดก็มี, ศีลไม่มีที่สุดก็มี. ก็ในศีล ๒ อย่างนั้น ไม่มีความต่างกันอย่าง |
นั้นในศีล ๓ อย่าง. |
ในบทเหล่านั้นบทว่า ลาภปริยนฺตํ - ศีลมีที่สุดเพราะลาภ คือ |
ชื่อว่า ลาภปริยนฺตํ เพราะศีลมีที่สุด คือขาดเพราะลาภ. แม้บทที่ |
เหลือก็อย่างนี้. |
|