๕๘๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๘๓
         ในบทว่า  ยโส  นี้  ได้แก่  บริวาร.  บทว่า  อิธ  คือ ในโลกนี้.
บทว่า  เอกจฺโจ  คือ  คนหนึ่ง.
          บทว่า   ลาภเหตุ - เพราะเหตุแห่งลาภ  คือ ลาภนั่นแลเป็นเหตุ,
เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าว ลาภเหตุโต - เพราะเหตุแห่งลาภ.  บทนี้เป็น
ปัญจมีวิภัตติลงในอรรถว่า  เหตุ.     บทว่า  ลาภปจฺจยา   ลาภการณา
เป็นไวพจน์ของบทว่า  ลาภเหตุนั้นนั่นแล.   ความจริงผลนั้นย่อมมาถึง
เพราะอาศัยเหตุนั่นแล   เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า  ปจฺจโย,    และ
เหตุทำให้เกิดผล  เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า   การณํ.   บทว่า  ยถา-
สมาทินฺนํ - ตามที่ตนสมาทาน  ได้แก่  ล่วง   คือประพฤติล่วงสิกขาบท
ที่ตนสมาทาน   คือถือไว้แล้ว.
          บทว่า  เอวรูปานิ  คือ  มีสภาพอย่างนี้,  อธิบายว่า  มีประการ
ดังกล่าวแล้ว.
          บทว่า  สีลานิ คือ  จะเป็นศีลของคฤหัสถ์ก็ตาม ศีลของบรรพ-
ชิตก็ตาม,   ศีลหนึ่งข้อในข้อต้นหรือข้อสุดท้ายขาด  ชื่อว่า ขณฺฑานิ-
ศีลขาด  ดุจผ้าสาฎกขาดในที่สุด.
           ศีลข้อหนึ่งขาดในท่ามกลาง ชื่อว่า  ฉิทฺทานิ - ศีลทะลุ  ดุจผ้า
สาฎกลูกเจาะในท่ามกลาง.
          ศีลข้อสองหรือข้อสามขาดไปตามลำดับ  ชื่อว่า  สพลานิ - ศีล
ด่าง   ดุจแม่โคมีสีที่ตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง   มีดำและแดงเป็นต้น   โดยมีสี
ไม่เหมือนกันมีสัณฐานยาวและกลมเป็นต้น   ตั้งขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง.
          ศีลข้อหนึ่งๆ ในระหว่าง ๆ ขาด  ชื่อว่า  กมฺมาสานิ - ศีลพร้อม
ดุจแม้โคมีสีเป็นจุด  ๆ  ไม่เหมือนกันในระหว่าง ๆ.
            ศีลแม้ทั้งหมด ชื่อว่าขาด  ทะลุ  ด่าง พร้อย  เพราะเมถุนสังโยค
- การประกอบพร้อมด้วยเมถุน  ๗   อย่าง   และเพราะถูกธรรมลามกมี
โกรธและผูกโกรธไว้เป็นต้น   ทำลายเสีย.
            ศีลเหล่านั้น  ชื่อว่า  น  ภุชิสฺสานานิ - ไม่เป็นไทย โดยไม่ปล่อย
ให้เป็นไทย   เพราะเป็นทาสแห่งตัณหา.
            ศีลทั้งหลาย ชื่อว่า  น  วิญฺญุปฺปสฏฺ€านิ - อันวิญญูชนไม่สรร-
เสริญ  เพราะวิญญูชนมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น  ไม่สรรเสริญ.
            ชื่อว่า   ปรามฏฺ€านิ   เพราะตัณหาและทิฏฐิจับต้องแล้ว,    หรือ
เพราะใคร ๆ สามารถจะจับได้ว่า   นี้เป็นโทษในศีลของท่าน.
            อีกอย่างหนึ่ง    ชื่อว่า  อสมาธิสํวตฺตนิกานิ -  ไม่เป็นไปเพื่อ
สมาธิ     เพราะไม่พึงทำให้มรรคสมาธิหรือผลสมาธิเป็นไปได้.    ปาฐะว่า
น สมาธิสํวตฺตนิกานิ  ดังนี้บ้าง  ความอย่างเดียวกัน.