๕๘๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๘๕
            ส่วนอาจารย์บางพวกพรรณนาความไว้อย่างนี้ว่า  ชื่อว่า  ขณฺฑานิ
เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย,   แม้ชื่อว่า  ฉิทฺทานิ  ก็อย่าง
นั้น.    ชื่อว่า  สพลานิ  เพราะมีสีต่าง ๆ กัน,  แม้ชื่อว่า   กมฺมาสานิ
ก็อย่างนั้น.   ชื่อว่า   น  ภุชิสฺสานิ   เพราะถึงความเป็นทาสของตัณหา.
ชื่อว่า น วิญฺญุปฺปสฏฺ€านิ  เพราะถูกผู้ฉลาดติเตียน.  ชื่อว่า ปรามฏฺ-
ฐานิ   เพราะถูกตัณหาจับต้อง.    ชื่อว่า   อสมาธิสํวตฺตนิกานิ  เพราะ
เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน.
          บทว่า  น  อวิปฺปฏิสารวตฺถุกานิ - เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน
ความว่า   เป็นที่ตั้งแห่งความไม่เดือดร้อนหามิได้    เพราะนำมาซึ่งความ
เดือดร้อน.
          บทว่า   น  ปามุชฺชวตฺถุกานิ -  ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์
ความว่า  ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติอย่างอ่อนอันไม่เกิดความเดือดร้อน  เพราะ
ไม่นำปีติอย่างอ่อนนั้นมา.   แม้ในบทที่เหลือก็พึงประกอบอย่างนี้.
          บทว่า   น  ปีติวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ  ความว่า ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งปีติอย่างแรงอันเกิดแต่ปีติอย่างอ่อน.
          บทว่า   น ปสฺสทฺธิวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ
ความว่าไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับกายและจิตอันเกิดแต่ปีติอย่างแรง
          บทว่า  น  สุขวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสุข    ความว่า
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสุขทางกายและทางใจอันเกิดแต่ความสงบ.
            บทว่า  น   สมาธิวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ   ความว่า
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิอันเกิดแต่ความสุข.
            บทว่า  น  ยถาภูตญาณทสฺสนวตฺถุกานิ -  ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ยถาภูตญาณทัสนะ   ความว่า    ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะอัน
เป็นปทัฏฐานแห่งสมาธิ.
            ในบทมีอาทิว่า  น  เอกนฺตนิพฺพิทาย - ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อ
หน่ายโดยส่วนเดียว   พึงนำ    อักษรมาประกอบแม้ในบทที่เหลือโดย
นัยมีอาทิว่า   น  วิราคาย - ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด.
            อีกอย่างหนึ่ง   ปาฐะมี       อักษรในบทมีอาทิว่า  น   วิราคาย.
            ในบทเหล่านั้นบทว่า  เอภนฺตนิพฺพิทาย   พึงทราบความเชื่อม
ว่า ศีลทั้งหลายย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายในวัฏฏะโดยส่วนเดียว.
แม้ในบทที่เหลือก็พึงประกอบอย่างนี้.
            บทว่า   วิราคาย  คือ   เพื่อความคลายกำหนัดในวัฏฏะ.
            บทว่า   นิโรธาย   คือ   เพื่อความดับแห่งวัฏฏะ.
            บทว่า   อุปสมาย  คือ เพื่อความสงบแห่งวัฏฏะด้วยความไม่เกิด
อีกแห่งวัฏฏะที่ดับแล้ว.
            บทว่า  อภิญฺาย  คือ  เพื่อความรู้ยิ่งแห่งวัฏฏะ.