๕๘๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๘๗
            บทว่า  สมฺโพธาย - เพื่อความตรัสรู้ คือ เพื่อความตื่นจากวัฏฏะ
โดยปราศจากการหลับ    คือกิเลส.
            บทว่า  นิพฺพานาย  คือ  เพื่อนิพพานอันเป็นอมตะ.
            บทว่า  ยถาสมาทินฺนํ  สิกฺขาปทํ  วีติกฺกมาย - เพื่อล่วงสิกขา-
บทตามที่ตนสมาทานไว้       ในบทนี้ท่านประกอบเป็นทุติยาวิภัตติด้วย
วิภัตติวิปลาส.
            บทว่า  จิตฺตมฺปิ  น  อุปฺปาเทติ  แม้ความคิดก็ใช่ให้เกิดขึ้น
ท่านกล่าวเพื่อแสดงความที่ศีลบริสุทธิ์ออย่างยิ่ง      ด้วยความบริสุทธิ์แห่ง
จิตตุปบาท.  ศีลมิใช่ขาดไปด้วยเพียงจิตตุปบาท.
            บทว่า  กึ  โส  วีติกฺกมิสฺสติ  เขาจักล่วงสิกขาบทได้อย่างไรเล่า
คือเขาจักทำการล่วงเพื่ออะไร,  อธิบายว่า  เขาจักไม่ทำการล่วงนั่นเอง.
            บทมีอาทิว่า  อขณฺฑานิ  พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามดังที่กล่าว
แล้วในหนหลัง.     ปาฐะว่า  น  ขณฺฑานิ  บ้าง.      ในบทมีอาทิว่า
เอกนฺตนิพฺพิทาย     พึงประกอบโดยนัยมีอาทิว่า   เอกนฺเตน   วฏฺเฏ
นิพฺพินฺทนตฺถาย   เพื่อความเบื่อหน่ายในวัฏฏะโดยส่วนเดียว.
            อนึ่ง  ในบทเหล่านี้   บทว่า  นิพฺพิทาย  ได้แก่   วิปัสสนา.
            บทว่า   วิราคาย  ได้แก่   มรรค.
            บทว่า  นิโรธาย  อุปสมาย  ได้แก่  นิพพาน.
        บทว่า อภิญฺาย สมฺโพธาย ได้แก่ มรรค.
        บทว่า นิพฺพานาย ได้แก่ นิพพาน เท่านั้น. พึงทราบกถา
ที่ยังไม่ชัดอย่างนี้ว่า ท่านกล่าวว่า วิปัสสนาในฐานะ ๑,  มรรคใน
ฐานะ ๒,  นิพพานในฐานะ ๓.    แต่โดยปริยายบททั้งหมดเหล่านี้เป็น
ไวพจน์ของมรรคบ้าง เป็นไวพจน์ของนิพพานบ้าง.
        ๘๙]  บัดนี้ พระสากรีบุตรครั้นแสดงประเภทของศีลที่มีอยู่ด้วย
มีที่สุดและไม่มีที่สุดแล้ว เพื่อแสดงประเภทของศีลโดยสัมปยุตด้วย
ธรรม ด้วยชาติ ด้วยปัจจัยต่อไป จึงกล่าวบทมีอาทิว่า กิ สีลํ-อะไร
เป็นศีลดังนี้.
        ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า สมุฏ€านํ เพราะมีวิเคราะห์ว่าศีลเป็น
เหตุตั้งขึ้น. บทนี้เป็นชื่อของปัจจัย. ชื่อว่า สมุฏ€านํ เพราะมี
วิเคราะห์ว่าศีลมีอะไรเป็นมุฏฐาน. ชื่อว่ากติธมฺมสโมธานํ เพราะ
มีวิเคราะห์ว่าศีลเป็นที่ประชุมที่ประมวลแห่งธรรมอะไร.
        บทว่า เจตนา สีลํ-เจตนาเป็นศีล ความว่า เจตนาของผู้
เว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น หรือของผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ.
        บทว่า เจตสิกํ สีลํ-เจตสิกเป็นศีล ความว่า การเว้นของ
ผู้เว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาชื่อว่าเป็นศีล ได้
แก่ เจตนาในกรรมบถ ๗ ของผู้เว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น. เจตสิก