๕๘๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๘๙
ชื่อว่าเป็นศีล  ได้แก่   ธรรม   คือ  อนภิชฌาอัพยาบาทและสัมมาทิฏฐิที่
ท่านกล่าวไว้   โดยนัยมีอาทิว่า  อภิชฺฌํ  โลเก  ปหาย  วิคตาภิชฺเฌน
เจตสา  วิหรติ - ภิกษุละอภิชฌาในโลก   มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่.
          ในบทว่า  สํรโร   สีลํ   ความสำรวมเป็นศีลนี้    พึงทราบความ
สำรวมมี  ๕  อย่าง  คือ  ปาติโมกขสังวร - ความสำรวมในปาติโมกข์ ๑
สติสังวร - ความสำรวมในสติ ๑   ญาณสังวร - ความสำรวมในญาณ
๑  ขันติสังวร - ความสำรวมในขันติ ๑   วีริยสังวร - ความสำรวมใน
ความเพียร  ๑.
           ในความสำรวม ๕ อย่างนั้นภิกษุเข้าถึง     เข้าถึงเสมอด้วยความ
สำรวมในปาติโมกข์นี้   นี้ชื่อว่า   ปาติโมกขสังวร.   ภิกษุรักษาจักขุน-
ทรีย์,  ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์นี้   ชื่อว่า  สติสังวร.
            พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
            ยานิ  โสตานิ  โลกสฺมึ       สติ  เตสํ  นิวารณํ
            โสตานํ  สํวรํ  พฺรูมิ          ปญฺาเยเต  ปิถิยฺยเร.
                  ดูก่อนอชิตะ     สติเป็นเครื่องห้ามกระแสใน
            โลก  เรากล่าวการสำรวมกระแสเหล่านั้น  บัณฑิต
            พึงปิดกั้นกระแสเหล่านี้ด้วยปัญญา.
๑. ที. สี. ๙/๑๒๕. ๒. อภิ. วิ. ๓๕/๖๐๒. ๓. องฺ. ติก. ๒๐/๔๕๕.
๔. ขุ. สุ. ๒๕/๔๒๕.
             นี้ชื่อว่า   ญาณสังวร.     แม้การเฉพาะปัจจัย    ก็ย่อมเข้าใน
บทนี้ด้วยเหมือนกัน.   ความสำรวมมาแล้วโดยนัยมีอาทิว่า  ขโม    โหติ
สีตสฺส  อุณฺหสฺส - ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อความหนาวความร้อน   นี้ชื่อว่า
ขันติสังวร.   ความสำรวมมาแล้วโดยนัยมีอาทิว่า อุปปนฺนํ  กามวิตกฺกํ
นาธิวาเสติ - ภิกษุอดกลั้นกามวิตกที่เกิดขึ้น นี้ชื่อว่า  วีริยสังวร.
แม้ว่าอาชีพบริสุทธิ์ก็รวมเข้าในบทนี้ด้วยเหมือนกัน. ความสำรวม ๕ อย่าง
นี้ด้วยประการฉะนี้, อนึ่ง เจตนาเว้นจากวัตถุที่มาถึงของกุลบุตร
แม้อาชีพบริสุทธิ์ก็รวมเข้าในบทนี้ด้วยเหมือนกัน. ความสำรวม ๕ อย่าง
 นี้ด้วยประการฉะนี้, อนึ่ง  เจตนาเว้นจากวัตถุที่มาถึงของกุลบุตร
ผู้กลัวบาป,   พึงทราบว่าทั้งหมดนั้นเป็น  สังวรศีล.
           บทว่า  อวีติกฺกโม  สีลํ-ความไม่ก้าวล่วงเป็นศีล ได้แก่  ความ
ไม่ก้าวล่วงทางกายและทางวาจาของผู้สมาทานศีล.    นี้เป็นการแก้ปัญหา
ว่า กึ  สีลํ   อะไรเป็นศีลไว้เพียงนี้ก่อน.
          ในการแก้ปัญหาว่า   กติ  สีลานิ - ศีลมีเท่าไร   เพราะปกติของ
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ  ในโลก     ท่านกล่าวว่า   สีลํ     ไว้ในบทนี้ว่า
กุสลสีลํ - กุศลเป็นศีล  อกุสลสีลํ - อกุศลเป็นศีล  อพฺยากตสีลํ  -
อัพยากฤตเป็นศีล,   อาจารย์ทั้งหลายกล่าวหมายถึงศีลว่า  นี้เป็น สุขศีล
- ความสุขเป็นศีล    นี้เป็น  ทุกขศีล - ความทุกข์เป็นศีล     นี้เป็น
กลหศีล - การทะเลาะกันเป็นศีล  นี้เป็น  มัณฑนศีล - การตบแต่ง
เป็นศีล.   ฉะนั้นโดยปริยายนั้น  แม้ อกุสลศีล   ท่านก็กล่าวว่าเป็นศีล
๑. ม. มู. ๑๒/๑๕. ๒. ม. มู. ๑๒/๑๗.