๕๙๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๙๑
ด้วยการยกเอาความขึ้น    แต่ศีลที่ท่านประสงค์เอาในที่นี้ไม่มีเพราะบาลี
ว่า  สุตฺวาน  สํวเร   ปญฺา - ปัญญาในการฟังแล้วสำรวม   ดังนี้.
          อนึ่ง เพราะจิตที่สัมปยุต   เป็นสมุฏฐานของศีลอันเป็นประเภท
มีเจตนาเป็นต้น,  ฉะนั้นพระสารีบุตรจึงกล่าวบทมีอาทิว่า   กุสลจิตต-
สมุฏฺ€านํ  กุสลสีลํ - กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน,
           บทว่า  สํรรสโมธานํ  สีลํ - ศีลเป็นที่ประชุมแห่งสังวร  ได้แก่
ขันธ์สัมปยุตด้วยความสำรวม.   จริงอยู่   ขันธ์เหล่านั้นมาพร้อมกับด้วย
ความสำรวม  ท่านจึงกล่าวว่า  มิสฺสีภูตา - เป็นสิ่งปนกัน  สํวรสโมธานํ-
เป็นที่ประชุมแห่งสังวร.    แม้ศีลเป็นที่ประชุมแห่งการไม่ก้าวล่วง  ก็พึง
ทราบอย่างนี้.
          บทว่า  ตถาภาเว   ชาตเจตนา  สโมธานํ  สีลํ - ศีลเป็นที่
ประชุมแห่งเจตนาอันเกิดในความเป็นอย่างนั้น  ได้แก่   ขันธ์อันสัมปยุต
ด้วยเจตนาอันเกิดในความสำรวม   ในความไม่ก้าวล่วง.  อนึ่ง  ท่าน
ประสงค์เอาธรรมสัมปยุตด้วยเจตนานั้น  ในเจตนาแม้ทั้ง ๓,  ฉะนั้นพึง
ทราบว่า  ท่านไม่ชี้แจงศีลเป็นที่ประชุมแห่งเจตสิกไว้ต่างหากกัน  เพราะ
แม้เจตสิกท่านก็วิเคราะห์ด้วยการประชุมแห่งเจตนา.     ธรรมทั้งหลาย
มีเจตนาเป็นต้น   ท่านกล่าวว่า   สีลํ  ไว้ในภายหลังแล้ว.  พึงทราบว่า
ท่านกล่าวติกะนี้เพื่อแสดงว่า   ธรรมเหล่านั้นไม่ใช่ศีลอย่างเดียว,   แม้
ธรรมสัมปยุตด้วยศีลนั้นก็เป็นศีลเหมือนกัน.
           บัดนี้   เพราะเจตนาและเจตสิกเป็นอันไม่ก้าวล่วงสังวรด้วยกัน,
ฉะนั้นพระสารีบุตรเมื่อจะประกอบการไม่ก้าวล่วงสังวร  โดยลำดับทั่วไป
ตลอดถึงอรหัตมรรค    จึงกล่าวบทมีอาทิว่า   ปาณาติปาตํ  สํวรฏฺเ€น
สีลํ,   อวีติกฺกมฏฺเ€น  สีลํ - ชื่อว่าศีล  เพราะอรรถว่าสำรวมและไม่
ก้าวล่วงปาณาติบาตดังนี้.    เพราะการเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น  ย่อม
สำรวมสิ่งเป็นข้าศึกของตน ๆ         และย่อมไม่ก้าวล่วงเป็นข้าศึกนั้น,
ฉะนั้นชื่อว่าศีล  เพราะอรรถว่าสำรวม  เพราะอรรถว่าไม่ก้าวล่วง เพราะ
สำรวมและเพราะไม่ก้าวล่วง.
          ในบทเหล่านั้นบทว่า   ปาณาติปาตํ  สํวรฏฺเ€น - ได้แก่   ชื่อว่า
ศีล  เพราะอรรถว่าปิดปาณาติบาต. ศีลข้อนั้นคืออะไร ?   คือ   ปาณา-
ติปาตา  เวรมณี.  อนึ่ง  ปาณาติปาตา  เวรมณี  นั้นสำรวมศีลข้อนั้น
ไม่ก้าวล่วงศีลนั้น  เพราะเหตุนั้น  ชื่อว่า สีลํ  เพราะอรรถว่าไม่ก้าวล่วง.
ศีลข้อ   อทินฺนาทาน  เวรมณี  เป็นต้น   พึงประกอบอนภิชฌาอัพยา-
บาทและสัมมาทิฏฐิเข้าด้วยกัน.
          ในบทมีอาทิว่า  ปาณาติปาตํ  พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้   การ
ยังสัตว์ให้ตกไปในอกุศลกรรมบถ  ๑๐ ชื่อว่า  ปาณาติบาต,     ท่าน
อธิบายว่า   การประหารสัตว์   การฆ่าสัตว์.
           อนึ่ง ในบทว่า  ปาโณ  นี้  โดยโวหาร  ได้แก่  สัตว์,  โดย
ปรมัตถ์  ได้แก่   ชีวิตินทรีย์.     สัตว์มีชีวิตก็รู้ว่ามีชีวิต   เจตนาที่จะฆ่า