๕๙๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๕๙๓
เป็นไปในทวารใดทวารหนึ่ง      แห่งกายทวารและวจีทวาร    ตั้งความ
พยายามในอันที่จะตัดชีวิตินทรีย์  ชื่อว่า   ปาณาติบาต.     บรรดาสัตว์
ทั้งหลาย   มีสัตว์เดียรัจฉานเป็นต้นไม่มีคุณ    ปาณาติบาตนั้น   ก็มีโทษ
น้อยในสัตว์เล็ก ๆ,  มีโทษมากในสัตว์ใหญ่.    เพราะเหตุไร ?  เพราะ
ใช้ความพยายามมาก.   เพราะแม้ในการพยายามก็ต้องใช้เครื่องมือใหญ่,
ในมนุษย์เป็นต้น  ผู้มีคุณพึงทราบว่า   ปาณาติบาตมีคุณน้อยในมนุษย์ผู้
มีคุณน้อย,  มีโทษมากในมนุษย์ผู้มีคุณมาก.   เมื่อร่างกายและคุณเสมอ
กัน   ปาณาติบาตมีโทษน้อย    เพราะกิเลสและความพยายามอ่อน,  มี
โทษมาก   เพราะกิเลสและความพยายามกล้า.
                  ปาณาติบาตนั้น  มีองค์  ๕  คือ
                 ๑.  ปาโณ  สัตว์มีชีวิต
                 ๒.  ปาณสญฺิตา  รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
                 ๓.  วธกจิตฺตํ  จิตคิดจะฆ่า
                 ๔.  อุปกฺกโม  พยายามที่จะฆ่า
                 ๕.  เตน มรณํ   สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น.
              การถือเอาของที่เขาไม่ให้เป็น  อทินนาทาน,  ท่านอธิบายการ
นำของ ๆ คนอื่นไป  มีจิตคิดจะลัก  เป็นหัวขโมย.
         ในบทเหล่านั้นบทว่า  อทินฺนํ - ของที่เขาไม่ให้  คือของที่คนอื่น
หวงแหน.  คนอื่นได้รับของที่ตนทำตามความประสงค์  เป็นผู้ไม่ควรได้
รับอาชญา   และไม่ควรติเตียนในวัตถุใด,   เมื่อวัตถุนั้นคนอื่นหวงแหน
ตนก็รู้ว่าคนอื่นหวงแหน      เจตนาว่าจะลักเป็นไปในทวารใดทวารหนึ่ง
แห่งกายทวารและวจีทวาร     อันตั้งขึ้นด้วยความพยายามที่จะถือเอาของ
นั้น   ชื่อว่า   อทินนาทาน.  อทินนาทานนั้นมีโทษน้อย  ในของของ
คนอื่นที่เลว,  มีโทษมากในของที่ประณีต.   เพราะเหตุไร ?  เพราะวัตถุ
ประณีต.   เมื่อวัตถุเสมอกันมีโทษมากในวัตถุอันเป็นของ   ของผู้ยิ่งด้วย
คุณ,   มีโทษน้อยในวัตถุอันเป็นของ   ของผู้มีคุณเลวกว่าผู้ยิ่งด้วยคุณ
นั้น ๆ หมายเอาวัตถุนั้น  ๆ มีคุณยิ่ง.
                 อทินนาทานนั้น  มีองค์  ๕  คือ
                 ๑. ปรปริคฺคหิตํ - ของอันคนอื่นหวงแหน
                 ๒. ปรปริคฺคหิตสญฺิตา - รู้ว่าคนอื่นหวงแหน
                 ๓. เถยฺยจิตฺตํ - จิตคิดจะลัก
                 ๔. อุปกฺกโม - พยายามที่จะลัก
                 ๕. เตน  หรณํ - นำไปด้วยความพยายามนั้น.
          บทว่า   กาเมสุ   ได้แก่  การประพฤติในเมถุน.   บทว่า  มิจฺฉา-
จาโร  ได้แก่  ประพฤติลามกที่ถูกติเตียนโดยส่วนเดียว.   แต่โดยลักษณะ