ปิสุณวาจานั้น มีองค์ ๔ คือ |
๑. ผู้อื่นอันตนควรทำลาย, |
๒. มุ่งความทำลายว่าคนเหล่านี้จักเป็นไปต่าง ๆ ประสงค์ให้ |
เป็นที่รักว่า เราจักเป็นที่รัก จักเป็นที่คุ้นเคย, |
๓. ความพยายามเกิดจากความประสงค์นั้น, |
๔. ให้ผู้นั้นรู้ความประสงค์ของความพยายาม. |
ก็เมื่อผู้อื่นยังไม่แตกกัน กรรมบถยังไม่แตก, เมื่อเขาแตกกัน |
แล้วกรรมบถจึงแตก. |
เจตนาหยาบโดยส่วนเดียวตั้งขึ้นด้วยกายปโยคะและวจีปโยคะ |
ตัดความรักของผู้อื่น เป็น ผุรสา วาจา. ปโยคะ แม้ตัดความรัก |
ก็ยังไม่เป็น ผุรสา วาจา เพราะจิตยังอ่อน. จริงอยู่ มารดาบิดาบาง |
ครั้งย่อมพูดกะบุตรน้อยอย่างนี้ว่า ขอให้โจรจับพวกเจ้าสับให้เป็นชิ้น ๆ |
เถิด ดังนี้. อันที่จริงแล้วมารดาบิดาไม่ปรารถนาแม้จะให้ใบบัวตกลง |
บนศีรษะของบุตรน้อยเหล่านั้นเลย. อนึ่ง อาจารย์และอุปัชฌาย์บาง |
ครั้งยังกล่าวกล่าวกนิสิตอย่างนี้ว่า อะไรพวกนี้ช่างไม่มีหิริโอตตัปปะกัน |
เสียบ้างเลย, ไล่ออกไปให้หมด. แต่ที่แท้แล้วอาจารย์และอุปัชฌาย์ |
ปรารถนาให้นิสิตเหล่านั้นถึงพร้อมด้วยการศึกษาเล่าเรียน และบรรลุ |
ด้วยกันทั้งนั้น. วาจาหยาบมีไม่ได้เพราะจิตอ่อนฉันใด, แม้วาจาไม่ |
หยาบก็มีไม่ได้เพราะคำพูดอ่อนฉันนั้น. ผู้ประสงค์จะให้คนตายพูดว่า |