พวกท่านจงให้คนนี้นอนให้สบายเถิดดังนี้เป็นวาจาหยาบ, วาจานี้เป็น |
วาจาหยาบเพราะจิตหยาบ, วาจาหยาบนั้นมีโทษน้อย เพราะผู้ที่กล่าว |
หมายถึงนั้นเป็นผู้มีคุณน้อย, ชื่อว่ามีโทษมากเพราะผู้ที่กล่าวหมายถึง |
นั้นมีคุณมาก. |
ผรุสวาจานั้น มีองค์ ๓ คือ |
๑. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร - คนอื่นที่ควรด่า, |
๒. กุปิตจิตฺตํ - มีจิตโกรธเคือง, |
๓. อกฺโกสนา - การด่า. |
เจตนาเป็นอกุศลตั้งขึ้นด้วยกาปโยคะและวจีปโยคะ เพื่อให้ |
รู้ความฉิบหาย ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ. สัมผัปปลาปะนั้น มีโทษน้อย |
เพราะอาเสวนะน้อย, มีโทษมากเพราะอาเสวนะมาก. |
สัมผัปปลาปะ มีองค์ ๒ คือ |
๑. มุ่งพูดเรื่องไม่เป็นเรื่อง มีเรื่องภารตยุทธ์และเรื่องชิงนาง |
สีดาเป็นต้น, |
๒. การพูดเรื่องอย่างนั้น. |
ก็เมื่อคนอื่นไม่เชื่อเรื่องนั้น กรรมบถยังไม่แตก. เมื่อคนอื่นเชื่อ |
คำพูดเพ้อเจ้อนั้น กรรมบถจึงแตก. |
|
ชื่อว่า อภิชฌา เพราะอรรถว่า เพ่ง, อธิบายว่า เป็นผู้มุ่ง |
ภัณฑะของผู้อื่น ย่อมเป็นไปเพราะจิตน้อมไปในภัณฑะนั้น. อภิชฌา |
นั้น มีลักษณะเพ่งภัณฑะของคนผู้อื่นอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอภัณฑะนี้ |
จึงจะเป็นของเราได้, อภิชฌานั้นมีโทษน้อยและมีโทษมาก ดุจอทิน- |
นาทาน. |
อภิชฌานั้น มีองค์ ๒ คือ |
๑. ปรภณฺฑํ - ภัณฑะของผู้อื่น, |
๒. อตฺตโน ปริณามญฺจ - น้อมไปเพื่อตน. |
เมื่อความโลภในวัตถุอันเป็นของของผู้อื่น แม้เกิดขึ้นแล้ว |
กรรมบถก็ยังไม่แตก ตลอดเวลาที่ยังไม่น้อมไปเพื่อตนว่า ทำอย่างไรหนอ |
ภัณฑะนี้จึงจะเป็นของเราได้ดังนี้. |
ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า ยังประโยชน์เกื้อกูลและ |
ความสุข ให้ถึงความพินาศ. พยาบาทนั้นมีใจมุ่งความพินาศแก่ผู้อื่น |
มีลักษณะประทุษร้าย, มีโทษน้อยและมีโทษมาก ดุจผรุสวาจา. |
พยาบาทนั้น มีองค์ ๒ คือ |
๑. ปรสตฺโต - สัตว์อื่น, |
๒. ตสฺส วินาสจินฺตา - คิดความพินาศแก่สัตว์อื่นนั้น. |
|