๖๐๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๐๑
            เมื่อความโกรธในสัตว์อื่น   แม่เกิดขึ้นแล้ว  กรรมบถก็ยังไม่แตก
ก่อนตลอดเวลาที่ยังไม่คิดถึงความพินาศแก่สัตว์นั้นว่า    ทำอย่างไรหนอ
ผู้นี้จึงจะล่มจมพินาศไปเสียทีดังนี้.
            ชื่อว่า   มิจฉาทิฏฐิ    เพราะอรรถว่า     เห็นผิดโดยไม่มีการถือ
ความจริง.   มิจฉาทิฏฐินั้นมีลักษณะเห็นวิปริตโดยนัย   มีอาทิว่า   นตฺถิ
ทินฺนํ - ทานที่ให้แล้วไม่มีผล,   มิจฉาทิฏฐิมีโทษน้อยและมีโทษมาก  ดุจ
สัมผัปปลาปะ.      อีกอย่างหนึ่ง  มีโทษน้อยไม่แน่นอน,    มีโทษมาก
แน่นอน.
            มิจฉาทิฏฐินั้น  มีองค์  ๒  คือ
            ๑.   ความที่วัตถุวิปริตจากอาการที่ถือไว้,
            ๒.   ความปรากฏแห่งวัตถุนั้นโดยความไม่เป็นอย่างที่ถือไว้.
            ในมิจฉาทิฏฐินั้น  กรรมบถแตก    ย่อมมีได้ด้วย  นัคถิกทิฏฐิ.
- ความเห็นว่าไม่มี  อเหตุกทิฏฐิ - ความเห็นว่าไม่เป็นเหตุ   อกิริย-
ทิฏฐิ - ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ,   มิใช่ด้วยทิฏฐิอื่น.   อกุศลกรรมบถ
๑๐ เหล่านี้พึงทราบวินิจฉัยโดยอาการ  ๕ คือ  โดยธรรม  ๑ โดยโกฏ-
ฐาส คือ ส่วน ๑ โดยอารมณ์  ๑  โดยเวทนา ๑  โดยมูลเหตุ ๑.
            ในบทเหล่านั้นบทว่า   ธมฺมโต - โดยธรรม  ได้แก่ เจตนาธรรม
๗   อย่าง อกุศลกรรมบถ ๓ อย่าง  มีอภิชฌาเป็นต้น   สัมปยุตด้วยเจตนา
ย่อมมีตามลำดับในอกุศลกรรมบถเหล่านั้น.
           บทว่า   โกฏฺ€าสโต - โดยส่วน  ได้แก่  ธรรม ๘  เหล่านี้   คือ
เจตนาธรรม  ๗  ตามลำดับ  และ  มิจฉาทิฏฐิ   เป็นกรรมบถแน่นอน,
มิใช่เป็นมูลเหตุ.   อภิชฌา  และ  พยาบาท   เป็นทั้งกรรมบถ   เป็นทั้ง
มูลเหตุ.   จริงอยู่   อภิชฌา  โลภะ   เป็นอกุศลมูลเพราะถึงแล้วซึ่งมูล
เหตุ,  พยาบาท  โทสะ  เป็นอกุศลมูล.
           บทว่า   อารมฺมณโต -  โดยอารมณ์  ได้แก่   ปาณาติบาต   มี
สังขารเป็นอารมณ์    โดยเป็นอารมณ์ของชีวิตินทรีย์.   อทินนาทาน    มี
สัตว์เป็นอารมณ์หรือมีสังขารเป็นอารมณ์.   มิจฉาจาร    มีสังขารเป็น
อารมณ์ด้วยอำนาจโผฏฐัพพะ,       อาจารย์พวกหนึ่ง    กล่าวว่ามีสัตว์เป็น
อารมณ์ดังนี้บ้าง.  มุสาวาท     มีสัตว์เป็นอารมณ์หรือมีสังขารเป็นอารมณ์.
ปิสุณา วาจา    ก็อย่างนั้น.     ผรุสวาจา    มีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว.
สัมผัปปลาปะ  มีสัตว์เป็นอารมณ์หรือมีสังขารเป็นอารมณ์โดยสามารถ
รูปที่เห็น เสียงที่ฟัง กลิ่นรสสัมผัสที่รู้ และธรรมที่ทราบ,  อภิชฌาก็
อย่างนั้น.  พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว.   มิจฉาทิฏฐิ  มีสังขาร
เป็นอารมณ์อย่างเดียว   ด้วยอำนาจธรรมเป็นไปในภูมิ ๓
        บทว่า   เวทนาโต - โดยเวทนา     ได้แก่   ปาณาติบาต  เป็น
ทุกขเวทนา.    อันที่แท้จริง   พระราชาทรงเห็นโจร     แม้ทรงพระสรวล
ก็ยังตรัสว่า   ดูก่อนพนาย  พวกเจ้าจงไปฆ่ามันเสียดังนี้,  ถึงดังนั้นเจตนา
ที่ตกลงใจของพระราชาทั้งหลาย ก็สัมปยุตด้วยทุกข์.    อทินนาทาน