๖๐๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๐๓
เป็นเวทนา  ๓.  เพราะ  อทินนาทาน  นั้น  เป็น  สุขเวทนา  แก่ผู้เห็น
ภัณฑะของผู้อื่นแล้วรื่นเริงดีใจฉวยเอาไป,  เป็น  ทุกขเวทนา  แก่ผู้
ฉวยเอาไป  มีความหวาดกลัว,  อนึ่งเมื่อพิจารณาวิบากและผลที่
หลั่งไหลมาก็เป็น  อทุกขมฺสุขเวทนา      แก่ผู้ที่ถือเอาตั้งอยู่ในความ
เป็นกลางในเวลาฉวยเอาไป.      มิจฉาจารมีเวทนา ๒  ด้วยสามารถแห่ง
สุขเวทนา  และความเป็นกลาง,  เวทนาในความเป็นกลาง  ย่อมไม่มี
ในจิตที่ตกลงทำ.
           มุสาวาท   มีเวทนา ๓   โดยนัยดังกล่าวแล้ว    ในอทินนาทาน
นั่นแล,  ปิสุณา  วาจา  ก็อย่างนั้น.  ผรุสา  วาจา  เป็นทุกขเวทนา.
           สัมผัปปลาปะ   มีเวทนา ๓.   เมื่อผู้อื่นให้สาธุการยกผ้าเป็นต้น
ขึ้นโบกผู้นั้นมีสุขเวทนาในเวลากล่าว    มีเรื่องชิงนางสีดาและภารตยุทธ์
เป็นต้น   ของผู้รื่นเริงยินดี,  เมื่อคนหนึ่งผู้ให้สินจ้างไว้ก่อนแล้ว  แต่มา
ภายหลังกล่าวว่า     ท่านจงเล่าตั้งแต่ต้นเถิดเขาย่อมมีทุกขเวทนาในเวลา
กล่าวของผู้ที่เกิดโทมนัสว่า  เราจักกล่าวเรื่องเบ็ดเตล็ดติดต่อกันไปไม่ให้
มีเหลือหรือจักไม่กล่าวหนอ.    ย่อมเป็นอทุกขมสุขเวทนาแก่ผู้กล่าวเป็น
กลาง ๆ.
            อภิชฌา   มีเวทนา  ๒  ด้วยสามารถแห่งสุขเวทนาและความเป็น
กลาง,  มิจฉาทิฏฐิ  ก็อย่างนั้น,  พยาบาท  เป็น  ทุกขเวทนา.  บทว่า
มูลโต  คือ  ปาณาติบาต  มี ๒  มูลเหตุด้วยสามารถแห่ง   โทสะ     และ
โมหะ ,  อทินนาทาน    มี ๒ มูลเหตุด้วยสามารถ  โทสะ และ โมหะ
หรือด้วยสามารถแห่ง   โลภะ  และ  โมหะ    มิจฉาจาร   มี ๒ มูลเหตุ
ด้วยสามารถแห่ง   โลภะ และ  โมหะ,  มุสาวาท     มี ๒ มูลเหตุด้วย
โทสะและโมหะหรือด้วยสามารถแห่งโลภะและโมหะ,   ปิสุณา   วาจา
และ  สัมผัปปลาปะ  ก็อย่างนั้น.   ผรุสวาจา  มี ๒ มูลเหตุด้วยสามารถ
แห่งโทสะและโมหะ,   อภิชฌา  มี   ๑   มูลเหตุด้วยสามารถแห่งโมหะ,
พยาบาท   ก็อย่างนั้น.     มิจฉาทิฏฐิ    มี ๒ มูลเหตุด้วยสามารถแห่ง
โลภะและโมหะ   ด้วยประการฉะนี้.
                                  จบ  อกุศลกรรมมถกถา
           ชื่อว่า   กุศลกรรมบถ     มี ๑๐  อย่างเหล่านี้    คือ   การเว้นจาก
ปาณาติบาตเป็นต้น  และอนภิชฌา   อัพยาบาท   สัมมาทิฏฐิ.  ชื่อว่า  วิรติ
เพราะอรรถว่า   เป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น,  หรือ   เว้นเอง,
หรือ   เพียงเว้นเท่านั้น.       การเว้นสัมปยุตด้วยกุศลจิตของผู้เว้นจาก
ปาณาติบาตเป็นต้น   มี ๓ อย่าง  คือ   สัมปัตตวิรัติ  ๑  สมาทานวิรัติ  ๑
สมุจเฉทวิรัติ ๑.
           ในวิรัติ ๓  อย่างนั้น     วิรัติเกิดแก่ผู้ยังไม่สมาทานสิกขาบท    ผู้
พิจารณาถึงชาติ  วัย  พาหุสัจจะเป็นต้น   ของตนแล้วไม่ก้าวล่วงสัมปัตต-
วัตถุ  ด้วยคิดว่า    การทำบาปเห็นปานนี้ไม่สมควรแก่เราดังนี้     ชื่อว่า