๖๐๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๐๕
สัมปัตตวิรัติ.     วิรัติเกิดแก่ผู้สมาทานสิกขาบท  ผู้สละแม้ชีวิตของตน
ในการสมาทานสิกขาบท   และยิ่งกว่านั้นแล้วไม่ก้าวล่วงวัตถุ      ชื่อว่า
สมาทานวิรัติ.
           วิรัติสัมปยุตด้วยอริยมรรค  ชื่อว่า สมุจเฉทวิรัติ.   แม้จิตมีอาทิว่า
เราจักฆ่าสัตว์เป็นต้น     ก็มิได้เกิดแก่พระอริยบุคคลตั้งแต่เกิดสมุจเฉท-
วิรัติ.   บัดนี้  พึงทราบวินิจฉัยกุศลกรรมบถเหล่านี้โดยอาการ  ๕  อย่าง
คือ   โดยธรรม ๑   โดยโกฏฐาส ๑   โดยอารมณ์  ๑  โดยเวทนา  ๑  โดย
มูลเหตุ  ๑  ดุจอกุศลกรรมบถ.
            ในบทเหล่านั้นบทว่า   ธมฺมโต  ได้แก่  แม่เจตนา ๗ อย่าง  แม้
วิรัติกุศลกรรมบถ ๓ ในที่สุดสัมปยุตด้วยเจตนา   ย่อมสมควรตามลำดับ
ในกุศลกรรมบถเหล่านั้น.
           บทว่า   โกฏฺ€าสโต  ได้แก่ กรรมบถ ๗ อย่างนั้นแลตามลำดับ,
มิใช่มูลเหตุ.   กุศลกรรมบถ ๓ ในที่สุดเป็นทั้งกรรมบถ  เป็นทั้งมูลเหตุ.
อนภิชฌา  อโลภะ   เป็นกุศลมูล  เพราะถึงแล้วซึ่งมูลเหตุ.  อัพยาบาท
อโทสะ  เป็นกุศลมูล, สัมมาทิฏฐิ  คือ  อโมหะ  เป็นกุศลมูล.
            บทว่า   อารมฺมณโต    ได้แก่    อารมณ์ของปาณาติบาตเป็นต้น
นั่นแลเป็นอารมณ์ของกรรมบถเหล่านั้น.   ชื่อว่าวรมณี   เพราะควรก้าว
ล่วงนั่นเอง.    อริยมรรคมีนิพพานเป็นอารมณ์    ย่อมละกิเลสทั้งหลาย
ฉันใด,    กรรมบถเหล่านั้นมีชีวิตินทรีย์เป็นต้นเป็นอารมณ์  ก็ฉันนั้น
ย่อมละความเป็นผู้ทุศีลมีปาณาติบาตเป็นต้น.
           บทว่า   เวทนาโต   ได้แก่   กุศลกรรมบถ  ทั้งหมดเป็น   สุข-
เวทนา หรือ  มัชฌัตตเวทนา.   จริงอยู่  กุศลกรรมบถไม่มีทุกขเวทนา
เพราะถึงกุศลแล้ว.
           บทว่า  มูลโต  ได้แก่  กุศลกรรมบถ  ๗  ตามลำดับมีมูลเหตุ   ๓
ด้วยสามารถแห่ง  อโลภะ   อโทสะ  อโมหะ    ของผู้เว้นด้วยจิตสัม-
ปยุตด้วยญาณ,   มีมูลเหตุ ๒ ด้วยสามารถ   อโลภะ  อโทสะ  ของผู้เว้น
ด้วยจิตไม่ประกอบด้วยญาณ,    อนภิชฌา   มีมูลเหตุ  ๒    ด้วยสามารถ
อโทสะ  อโมหะ   ของผู้เว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ,   มีมูลเหตุ  ๑  ด้วย
สามารถอโทสะ   ของผู้เว้นด้วยจิตไม่ประกอบด้วยญาณ.   ส่วน  อโลภะ
ไม่เป็นมูลเหตุของตนด้วยตนเอง.   แม้ในอัพยาบาทก็มีนัยเหมือนกัน.
สัมมาทิฏฐิมีมูลเหตุ  ๒ ด้วยสามารถอโลภะ  อโทสะแล.
                              จบ  กุศลกรรมบถกถา