๖๐๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๐๗
          พระสารีบุตรครั้นแสดงศีล  ด้วยสามารถแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐
อย่างนี้แล้ว   บัดนี้เพื่อจะแสดงธรรม ๓๗ มีเนกขัมมะเป็นต้น มีอรหัต-
มรรคเป็นปริโยสาน    จึงกล่าวบทมีอาทิวา   เนกฺขมฺเมน กามจฺฉนฺทํ
สํวรฏเ€น สีลํ,   อวีติกฺกมฏเ€น สีลํ-ชื่อว่าศีล ด้วยอรรถว่าสำรวม
และไม่ก้าวล่วง   กามฉันทะ  ด้วย  เนกขัมมะ.   ในบทนั้นมีอธิบายว่า
เพราะภิกษุสำรวมไม่ก้าวล่วงกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ,    ฉะนั้น   เนก-
ขัมมะ  จึง  เป็นศีล.    อีกอย่างหนึ่ง     อธิบายว่า  เนกขัมมะ    เป็น
ตติยาวิภัตติลงในอรรถปฐมาวิภัตติ. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.    แต่ในบาลี
ท่านแสดงเนกขัมมะและอัพยาบาทแล้วอัพยาบาทที่เหลือ    เพราะมีนัยดังได้
กล่าวแล้วในหนหลัง    แล้วจึงแสดงอรหัตมรรคเท่านั้นไว้ในที่สุด
        ๙๐]  พระสารีบุตรครั้นแสดงศีลด้วยสามารถ การสำรวม และ
การไม่ก้าวล่วง   อย่างนี้แล้ว   บัดนี้  เพื่อแสดงทั้งสองอย่างนั้นจึงกล่าว
บทมีอาทิว่า  ปญฺจ  สีลานิ  ปาณาติปาตสฺส  ปหานํ  สีลํ - ศีล ๕  คือ
การละปาณาติบาตเป็นศีล.   อนึ่ง  ในบทนี้พึงประกอบว่า  การละปาณา-
ติบาตเป็นศีล,   การเว้นจากปาณาติบาตเป็นศีล,    เจตนาเป็นปฏิปักษ์ต่อ
ปาณาติบาตเป็นศีล,   ความสำรวมปาณาติบาตเป็นศีล   การไม่ก้าวล่วง
ปาณาติบาตเป็นศีล.
           บทว่า  ปหานํ - การละ  ความว่า  ชื่อว่าธรรมไร ๆ เว้นจากเพียง
ไม่ให้เกิดปาณาติบาตเป็นต้น  ดังกล่าวแล้วย่อมไม่มี,  เพราะการละนั้นๆ
ชื่อว่าเป็นการรับรอง   ด้วยอรรถว่า  เป็นที่ตั้งของกุศลธรรมนั้น ๆ,  และ
ชื่อว่าเป็นที่รวม  เพราะไม่ทำสภาพที่กระจัดกระจาย,   ฉะนั้น   ท่านจึง
กล่าว   สีลํ    เพราะอรรถว่า   เป็นการปฏิบัติกล่าวคือ     เป็นที่รับรอง
และเป็นที่รวม   ดังกล่าวไว้แล้วในตอนต้นนั่นแล.   ธรรม   อย่างนอก
นี้    ท่านกล่าวหมายถึงสภาพที่เป็นไปของจิต    ด้วยสามารถการเว้นจาก
ปาณาติบาตนั้น  ด้วยการสำรวมปาณาติบาตนั้น      ด้วยเจตนาสัมปยุต
ด้วยการเว้นและการสำรวมทั้งสองนั้น   และด้วยการไม่ล่วงของผู้ไม่ล่วง
ปาณาติบาตนั้น ๆ.
           อีกอย่างหนึ่ง   แม้การละก็ยังมีอยู่โดยธรรมดานั่นเอง.  อย่างไร  ?
           ชื่อว่า     ปหานํ      เพราะย่อมละสิ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อปาณาติบาต
เป็นต้น  ด้วยการเว้นและการสำรวมนั้น,   หรือย่อมละสิ่งเป็นปฏิปักษ์
นั้น.  สิ่งเป็นปฏิปักษ์นั้น  คืออะไร  ?  กุศลธรรมแม้ทั้งหมด.  แต่อาจารย์
พวกอื่นกล่าวว่า  แม้ในเนกขัมมะเป็นต้น  ชื่อว่าวิรัติเป็นอันเดียวกันกับ
ความแน่นอนในกุศลทั้งหมด   เพราะถือเพียงคำว่า  เวรมณี  สีลํ - การ
เว้นเป็นศีล   ยังมีอยู่,  ในที่นี้ไม่เป็นอย่างนั้น.   ท่านกล่าวอปริยันตศีล
เท่านั้น ในศีลสองอย่าง คือ  ปริยันตศีล  และอปริยันตศีล  ทำให้พิเศษ
ด้วยบท ๕ บท   มี  ปหานะ   เป็นต้น.     เพราะฉะนั้น   พระสารีบุตร
จึงกล่าวว่า   เอวรูปานิ  สีลานิ  จิตฺตสฺส   อวิปฺปฏิสาราย  สํวตฺตนฺติ
ฯเปฯ      สจฺฉิกาตพฺพํ   สจฺฉิกโรนฺโต  สิกฺขติ - ศีลทั้งหลายเห็นปาน