นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิต ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งซึ่ง |
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษาดังนี้. |
ในบทเหล่านั้น ทว่า อวิปฺปฏิสาราย สํวตฺตนฺติ๑ ความว่า |
ย่อมเป็นไปโดยชอบ เพื่อความไม่เดือดร้อน เพราะพระบาลีว่า ความ |
สำรวม เพื่อความไม่เดือดร้อน และว่า ดูก่อนอานนท์ ศีลมีความ |
ไม่เดือดร้อนเป็นประโยชน์ มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์.๒ |
ย่อมเป็นไป เพื่อความปราโมทย์ เพราะบาลีว่า ความไม่ |
เดือดร้อน ย่อมเป็นไปเพื่อความปราโมทย์ และว่า ความปราโมทย์ |
ย่อมเกิดแต่ผู้ใส่ใจโดยแยบคาย.๓ |
ย่อมเป็นไป เพื่อปีติ เพราะบาลีว่า ความปราโมทย์ ย่อม |
เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ปีติ และว่า ปีติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์.๔ |
ย่อมเป็นไปเพื่อ ปัสสัทธิ เพราะบาลีว่า ปีติย่อมเป็นไป |
เพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ และว่า กายย่อมสงบ แต่ผู้มีใจปีติ.๕ |
ย่อมเป็นไปเพื่อ โสมนัส เพราะบาลีว่า ปัสสัทธิย่อมเป็น |
ไปเพื่อประโยชน์แก่ความสุข๖ และว่า กายที่สงบย่อมเสวยความ |
สุข.๗ เพราะ ความสุขทางจิต ท่านกล่าวว่า เป็นโสมนัส. |
|
|
|