๖๑๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๑๑
        ปริกฺขาร  ศัพท์ในบทนี้มีความว่า  ของใช้  ดุจในประโยคมีอาทิ
ว่า  เย จ  โข  อิเม  ปพฺพชิเตน  ชีวิตปริกฺขารา  สมุทาเนตพฺพา-
ของใช้สำหรับชีวิตเหล่านี้  อันบรรพชิตควรจัดหาไว้.  มีความว่า  เครื่อง
ประดับ     ดุจในประโยคมีอาทิว่า  รโถ  สีลปริกฺขาโร,   ฌานกฺโข
จกฺกวีริโย - รถ  คือ  กาย  มีศีลเป็นเครื่องประดับ,  เพลา  คือ  ฌาน
มีความเพียรเป็นจักร.  มีอรรถว่า  บริวาร  ดุจในบทมีอาทิว่า  สตฺตหิ
นครปริกฺขาเรหิ  สุปริกฺขตํ  โหติ - นครเป็นอันคุ้มกันด้วยดี ด้วยการ
แวดล้อมนคร ๗ ประการ.  แต่ในที่นี้  ท่านกล่าว สมฺภารตฺโถ  มี
ความว่า  สัมภาระ  เพราะอลังการและบริวารมาแยกกัน.
        อนึ่ง  อรรถแห่งสัมภาระมีความว่าปัจจัย.  ศีลย่อมเป็นไปเพื่อ
เป็นบริวารด้วยให้สำเร็จธรรมสมบัติมีผัสสะ  สัมปยุตด้วยสมาธิเป็นต้น
โดยความเป็นมูลเหตุนั่นเอง,   ย่อมเป็นไปเพื่อความบริบูรณ์  เพราะให้
สำเร็จความบริบูรณ์  ด้วยให้ถึงความเป็นปทัฏฐานแห่งสมาธิและวิปัสส-
นา  และด้วยให้ถึงความเป็นผู้ชำนาญ.
        พระสารีบุตรครั้นแสดงสมาธิบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง  โดย
อุปนิสัยแห่งศีลอย่างนี้แล้ว  บัดนี้  เมื่อจะแสดงยถาภูตญาณทัสนะเป็นต้น
อันเป็นปทัฏฐานของสมาธิ  มีศีลเป็นมูล  เพราะบาลีว่า  สมาหิเต
จิตฺเต  ยถาภูตํ  ปชานาติ,   ยถาภูตํ  ชานํ  ปสฺสํ  นิพฺพินฺทติ,
๑. ม.มู. ๒/๒๓๗. ๒. สํ. มหา. ๑๙/๒๔. ๓. องฺ. สตฺตก. ๒๗/๖๔.
นิพฺพินฺทํ  วิรชฺชติ,  วิราคา  วิมุจฺจติ. - เมื่อจิตตั้งมั่นย่อมรู้เห็นความ
ความเป็นจริง,   เมื่อรู้เมื่อเห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย,  เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด,  เพราะกายกำหนัด   จิตย่อมหลุดพ้นดังนี้.
จึงกล่าวบทมีอาทิว่า   เอกนฺตนิพฺพิทาย - เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วน
เดียว.    เมื่อแสดงความเบื่อหน่ายแล้วก็เป็นอันแสดงยถาภูตญาณทัสนะ
อันเป็นปทัฏฐานแห่งความเบื่อหน่ายนั้นนั่นแล.         เมื่อยถาภูตญาณ-
ทัสนะนั้นยังไม่สำเร็จ     ความเบื่อหน่ายก็ยังไม่สำเร็จ.  ก็บทเหล่านั้น
มีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้วนั้นแล.  แต่ในที่นี้ยถาภูตญาณทัสนะ   กำหนด
เอานามรูปพร้อมด้วยปัจจัย.
           พระสารีบุตรครั้นแสดงถึงประโยชน์ของศีล  อันมีอมตมหานิพ-
พานเป็นที่สุด   อย่างนี้แล้ว   บัดนี้ประสงค์จะแสดงความที่ศีลนั้นเป็น
อธิศีลสิกขา   และอธิจิตสิกขา   อธิปัญญาสิกขา   อันมีอธิศีลสิกขาเป็น
มูล  จึงกล่าวบทมีอาทิว่า   เอวรูปานํ  สีลานํ  สํวรปริสุทฺธิ  อธิสีลํ-
ความบริสุทธิ์แห่งความสำรวมศีลเห็นปานนี้เป็นอธิศีล.
           ในบทเหล่านั้น   ความบริสุทธิ์  คือ  ความสำรวมนั่นเอง  ชื่อว่า
สังวรปาริสุทธิ.  ความบริสุทธิ์แห่งความสำรวมศีลอาศัยวิวัฏฏะ  อันเป็น
ศีลไม่มีที่สุดเห็นปานนี้   ท่านกล่าวว่า  เป็นอธิศีล  เพราะเป็นศีลยิ่งกว่า
ศีลที่เหลือ  เพราะอาศัยวิวัฏฏะ.
๑. ขุ. ป. ๓๑/๑๘๒.