๖๑๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๖๑๓
          บทว่า  สํวรปาริสุทฺธิยา  €ิตํ จิตฺตํ - จิตตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์
ด้วยความสำรวม   ความว่า   จิตตั้งอยู่ด้วยความบริสุทธิ์  ด้วยความสำรวม
ศีลเช่นนี้  ย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน   เพราะนำความไม่เดือดร้อนเป็นต้น
มาด้วยดี,  คือตั้งอยู่ในสมาธิ.
           ความบริสุทธิ์   คือ  ความไม่ฟุ้งซ่าน  ชื่อว่าอวิกเขปปาริสุทธิ.
สมาธิอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด   เว้นจากมลทินทั้งปวง  ท่านกล่าว
ว่า  อธิจิตฺตํ   เพราะเป็นสมาธิยิ่งกว่าสมาธิที่เหลือ.   ในบทนี้ท่านชี้แจง
ถึงสมาธิ  ด้วยหัวข้อว่า  จิตฺตํ.
          บทว่า  สํวรปาริสุทฺธึ   สมฺมา  ปสฺสติ - พระโยคาวจรย่อมเห็น
ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมโดยชอบ  ความว่า ย่อมเห็นความบริสุทธิ์
คือความสำรวมด้วยศีลโดยชอบ   ด้วยสามารถแห่ง  ญาตปริญญา  และ
ตีรณปริญญา,  ย่อมเห็นสมาธิอันบริสุทธิ์   กล่าวคือ  ความบริสุทธิ์  คือ
ความที่จิตไม่ฟุ้งซ่านอย่างนั้นนั่นแลโดยชอบ.      เมื่อพระโยคคาวจรเห็น
อย่างนั้นความบริสุทธิ์   กล่าวคือ  ความเห็น  ชื่อว่า  ทสฺสนปาริสุทฺธิ-
ความบริสุทธิ์แห่งทัสนะ.
          ทัสนปาริสุทธินั่นแล    ท่านกล่าวว่าเป็น   อธิปญฺา    เพราะ
ยิ่งกว่าปัญญาที่เหลือ.
          บทว่า  โย  ตตฺถ   คือ  ในความสำรวม   ความไม่ฟุ้งซ่านและ
ทัสนะนั้น.    บทว่า  สํวรฏฺโ€  คือ  ความสำรวม.
          พึงทราบความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็น    ก็อย่างนั้นเหมือนกัน,
สิกขา คือ   อธิศีลนั่นแล   ชื่อว่าอธิสีลสิกขา.   แม้นอกนั้น   ก็พึงทราบ
อย่างนี้.
           พระสารีบุตรครั้นแสดงสิกขา ๓ อย่างนี้แล้ว บัดนี้  เพื่อจะแสดง
ถึงลำดับของสิกขาเหล่านั้นให้บริบูรณ์ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า  อิมา  ติสฺโส
สิกขาโย   อาวชฺเชนฺโต  สิกฺขติ- พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓
เหล่านี้   ชื่อว่าย่อมศึกษา.     บทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้     พระโยคาวจร
แม้เมื่อนึกถึงเพื่อยังสิกขาอย่างหนึ่ง ๆ ให้บริบูรณ์     ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา,    ครั้นรู้
แล้วแม้เห็นอยู่อยู่ว่า   สิกขาชื่ออย่างนี้   ก็ช่วยย่อมศึกษา,   ครั้นรู้
ตามแม้เห็นอยู่บ่อย ๆ  ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา,   ครั้นเห็นแล้ว    แม้พิจารณา
ตามที่เห็น   ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา     ครั้นพิจารณาแล้ว   แม้ตั้งมั่นทำจิตไม่
ให้หวั่นไหวในสิกขานั้น   ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา,      แม้ทำกิจของตน ๆ  ด้วย
ศรัทธา  วีริยะ   สติ   สมาธิ  และปัญญา  อันสัมปยุตด้วยสิกขานั้น ๆ ก็
ชื่อว่าย่อมศึกษา,   เมื่อทำกิจนั้น ๆ  แม้ในกาลมีความรู้ยิ่งในสิ่งที่ควรรู้
ยิ่งเป็นต้น  ก็ชื่อว่าย่อมศึกษาสิกขา  แม้ ๓ อย่าง.  บทว่า  ปญฺจ  สีลานิ
เป็นต้นอีกครั้ง   มีความดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.
          ๙๑ ]  อนึ่ง  พึงทราบความในบทมีอาทิว่า      อรหตฺตมคฺเคน
สพฺพกิเกสานํ   ดังต่อไปนี้   บทเหล่านั้นถูกต้องทีเดียว  เพราะความไม่